กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1649
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย จังหวัดยโสธร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of community participation model for prevention suicide of Yasothon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
กชพงศ์ สารการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาพร จันทร์สาม, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การฆ่าตัวตาย -- การป้องกัน
การฆ่าตัวตาย -- การป้องกัน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ๋อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย จังหวัดยโสธร 2) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกัน การฆ่าตัวตายจังหวัดยโสธร และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมชองชุมชนในการป้องกัน การฆ่าตัวตาย จังหวัดยโสธร การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยได้แก่ กระบวนการ TOP Model และเทคนิค AIC และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบการมีส่วน ร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบประเมินภาวะชึมเศร้า แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันการฆ่าตัวตาย และแบบประเมินความพึงพอใจด่อการใช้รูปแบบการ มีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 56 คน ประกอบด้วย ผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ญาดิ แกนนำชุมชน และบุคลากรสาธารณสุข โดยเลือก แบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาดรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ยังไม่มีรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายที่ ชัดเจน ชุมชนยังขาดความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของการป้องกันการฆ่าตัวตาย 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของผมส่วน ได้ส่วนเสียในชุมชน การให้องค์ความรู้ การเสริมสร้างพลัง การเสริมสร้างสุขภาพจิด และสร้างชุมชน การเรียน และ 3) หลังการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการฆ่าตัวตายพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างที่มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิดิ บุคลากรมีความรู้ ทัศนคติและทักษะการป้องกันการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมี ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1649
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib159447.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons