กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1678
ชื่อเรื่อง: การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Living in the philosophy of sufficiency economy by members of philosophy of sufficiency economy in community project in Upper North-eastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภคมนพรรณ ชุมผาง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
การดำเนินชีวิต--แง่เศรษฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิก 2) การตัดสินใจเข้าร่วมของสมาชิกโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 3) การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) การเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตของสมาชิกก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 5 ด้าน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกกลุ่มส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.39 ปี เกือบทั้งหมด เป็นสมาชิกกลุ่มหรือองค์กร และมีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง ทั้งหมดประกอบอาชีพทำนา 2) สมาชิกกลุ่มส่วนมากมีเหตุผลที่ความสำคัญต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการมากที่สุด คือ ต้องการความยั่งยืนและมั่นคงในด้านอาชีพ รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่จะได้รับ 3) สมาชิกกลุ่มเกือบทั้งหมดดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุดในด้านคุณธรรม ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติในท้องถิ่น การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ และสุจริต 4) การดำเนินชีวิตของสมาชิกกลุ่มก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพึ่งพาตนเองด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี 5) เกือบทั้งหมดไม่พบปัญหาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมและพัฒนาควรคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรและประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับผู้นำชุมชนควรลงพื้นที่เพื่อชี้แจงโครงการแก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159260.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons