กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1681
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลการบริหารจัดการของพยาบาลวิชาชีพต่อการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชน ในเขต 2 กระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The influence of professional nurses' management on the core process performance at Primary Care Units in Region 2, the Ministry of Public Health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรจา สันตยากร, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาล -- การบริหาร
พยาบาลวิชาชีพ -- ภาระงาน
ศูนย์สุขภาพชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการบริหารจัดการของศูนย์ สุขภาพชุมชน 2) ผลของการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชน 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง กระบวนการบริหารจัดการกับผลของการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขต 2 กระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน เขต 2 จำนวน 475 คน กลุ่ม ตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใชัในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน วิเคราะห์หาความเที่ยง ของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง ของแบบสอบถามด้านการบริหาร จัดการ 0.86 ด้านปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชน 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) ภาพรวมของกระบวนการการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชน อยู่ใน ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.68 (SD= .50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กระบวนการบริหารด้านการวางแผน การจัดองค์กร การจัดเจ้าหน้าที่ การชี้นำการควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการประสานงานอยู่ใน ระดับสูง 2) ภาพรวมระดับการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของพยาบาลวิชาชีพในศูนย์สุขภาพชุมชน อยู่ ในระด้บสูง ค่าเฉลี่ย 3.13 (SD = .44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การบริการในสถานบริการในศูนย์สุขภาพ ชุมชน และการดูแลต่อเนื่อง อยู่ในระดับสูง ส่วนการบริการในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง 3) กระบวนการ บริหารจัดการและผลของการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถติ ที่ระดับ 0.5 และการบริหารจัดการด้านการควบคุมและการประสานงานสามารถร่วมกัน ทำนายผลการปฏิบัติงานตามกระบวนการหลักของศูนย์สุขภาพชุมชนได้ร้อยละ 24.6
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1681
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib102158.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons