กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1683
ชื่อเรื่อง: การจัดการฟาร์มกุ้งข้าว (Litopenaeus vannamei) ของเกษตรกรในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farm management of white shrimp (Litopenaeus vannamei) by farmers in Hua Sai District of Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุ่นประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญรักษ์ ศรีน้อย, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ฟาร์มกุ้งขาว--การจัดการ
กุ้งขาวแวนนาไม--การเลี้ยง
เกษตรกร--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การจัดการฟาร์มกุ้งขาวของเกษตรกร 3) ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตกุ้งขาวของเกษตรกร และ 4) สภาพปัญหาในการเลี้ยงกุ้งขาวของเกษตรกรในอา เภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52 ปี จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งขาวเฉลี่ย 16 ปี เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอาชีพหลัก การถือครองที่ดิน เป็นของตนเอง และใช้เงินทุนของตนเองและเงินกู้ในการเลี้ยงกุ้ง 2) การจัดการฟาร์มตามแนวทาง GAP กุ้งทะเลของกรมประมง ได้แก่ ด้านสถานที่ การจัดการทั่วไป ปัจจัยการผลิต การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์น้า สุขลักษณะฟาร์ม การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และการบันทึกข้อมูล ฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดกลาง-ใหญ่ มีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ 3) ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตกุ้งขาวของเกษตรกร พบว่า ฟาร์มขนาดกลาง-ใหญ่มีต้นทุนทั้งหมดและผลตอบแทนทั้งหมดที่สูงกว่าฟาร์มขนาดเล็ก (p<0.01) ส่วนกา ไรของฟาร์มทั้งสองขนาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสา คัญทางสถิติ (p>0.05) และ 4) สภาพปัญหา ในการเลี้ยง พบว่า ฟาร์มทั้งสองขนาดมีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ พบโรคตายด่วน (EMS/AHPND) และ โรคขี้ขาวระบาด แหล่งน้า มีความเค็มไม่สม่า เสมอ และ ราคาอาหารกุ้งไม่แน่นอน ข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรควรมีการเฝ้าระวังเรื่องโรค ทาระบบป้องกันโรคที่ดี การเลือกแหล่งลูกกุ้งที่ได้มาตรฐานและ ทนต่อโรค ปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP ของกรมประมงอย่างเคร่งครัด มีวิธีการจัดการฟาร์มที่เหมาะสม ในแต่ละฤดูกาล และควรทา ระบบประกันราคาอาหารกุ้ง รวมถึงลดต้นทุนการผลิตส่วนอื่นๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1683
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159305.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons