กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1692
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบบริการเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ในสถาบันบำราศนราดูร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of cervical cancer screening services for human immunodeficiency virus women at Bamrasnaradura Institute
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรพันธุ์ วิรัชชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญสุข อัศวพิพิธ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาลนรีเวชวิทยา
ปากมดลูก -- มะเร็ง
โรคเอดส์ในสตรี
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีที่ติดเขึ้อเอช ไอ วี ในสถาบันบำราศนราดูร การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) การศึกษา สถานการณ์ ด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การทบทวนวรรณกรรม และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้มีส่วน เกี่ยวข้องได้แก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการรวม 23 คน 2) การพัฒนารูปแบบบริการด้วยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำรูปแบบไปทดลองใช้ 20 วัน และ 3) การประเมินประสิทธิภาพ รูปแบบบริการหลังการนำรูปแบบที่ปรับปรุงแล้วไปปฏิบัติ 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า มีการพัฒนารูปแบบบริการในแผนกผู้ป่วยนอก 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดถูกในแผนกผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวชกรรม และ 2) รูปแบบบริการ ส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดถูกในแผนกผู้ป่วยนอกอื่น ๆ ได้แก่ แผนกคัดกรองด่านหน้า แผนกผู้ป่วย นอกอายุรกรรม แผนกตรวจประกันสังคม หน่วยฟื้นฟูสุขภาพ การประเมินหลังนำรูปแบบไปใช้โดย เปรียบเทียบสถิติกับปีที่ผ่านมาพบว่า (1) สตรีที่ติดเชื้อเอช ไอ วี/เอดส์ มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.70 เป็นร้อยละ 29.20 (2) ความตั้งใจในการติดตามรับฟังผลการ ตรวจ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.9 เป็นร้อยละ 78 (3) อัตราการกลับมาตรวจซ้ำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.3 เป็น ร้อยละ 82.2 (4) อัตราความผดปกติของเซลล์ปากมดถูกจากร้อยละ 7.1 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ16.5 (5) อัตรา ได้รับการดูแลรักษาในรายที่พบเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.9 เป็นร้อยละ 96.6 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบบริการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกผ่ายช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีที่ติดเขึ้อเอช ไอ วี/เอดส์ ในสถาบันได้อย่าง ยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1692
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib105451.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons