กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1693
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดลิ้นจี่ในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines for the production and marketing of Lychee in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จาตุรันต์ หงษ์หิน, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตลิ้นจี่ของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของเกษตรกร (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามหลักวิชาการในการผลิตลิ้นจี่ของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร และ (5) แนวทางการพัฒนาการผลิตและการตลาดของลิ้นจี่ของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.17 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด มีหนี้สินเฉลี่ย 104,185.65 บาท พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.96 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.41 คน ประสบการณ์ในการปลูกลิ้นจี่เฉลี่ย 19.50 ปี เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตลิ้นจี่อยู่ในระดับมาก มีแหล่งข้อมูลและระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นแหล่งบุคคล แหล่งกลุ่ม แหล่งสื่อสารมวลชน แหล่งสื่อสิ่งพิมพ์ และแหล่งสื่อออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) สภาพทั่วไปในการผลิตลิ้นจี่ มากกว่าครึ่งปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่ราบ เกือบทั้งหมดปลูกลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย รายได้เฉลี่ย 17,630.80 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,765.40 บาท มีระดับการนำการผลิตตามหลักวิชาการไปปฏิบัติในระดับมากที่สุด เกษตรกรเกือบทั้งหมดเก็บผลผลิตขายเองโดยขายส่ง ณ จุดรับซื้อ (3) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับของปัญหาด้านการผลิต ปริมาณพื้นที่การเกษตรทั้งหมดระดับการได้รับความรู้ และแรงงานทั้งหมดมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามหลักวิชาการในการผลิตลิ้นจี่ 8 ด้าน (4) เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในจังหวัดพะเยามีปัญหาด้านการผลิต คือ ด้านปัจจัยการผลิต และด้านการผลิตลิ้นจี่ สำหรับข้อเสนอแนะควรมีการส่งเสริมให้สามารถผลิตลิ้นจี่ได้คุณภาพอย่างสมํ่าเสมอ และให้เจ้าหน้าที่ดูแลติดตามให้คำแนะนำตลอดช่วงฤดูการผลิต ควรมีการดำเนินการโรงเรียนเกษตรกรลิ้นจี่เพื่ออบรมให้ความรู้เรื่องการแต่งกิ่ง ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบชีววิธีแก่เกษตรกรเพื่อลดต้นทุน ปัญหาด้านการตลาด คือ ด้านการจัดการตลาด และด้านอื่นๆ (5) การส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยหรือการผลิตตามหลักวิชาการ (GAP) นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริม Young Smart Farmer การส่งเสริมการผลิตพืชโดยใช้พื้นที่น้อยเน้นให้ได้คุณภาพมากกว่าการเพิ่มพื้นที่ปลูก การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1693
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159324.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons