กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1696
ชื่อเรื่อง: | การจัดการโซ่อุปทานมะม่วงของเกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วงมงคลธรรมนิมิต อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Supply chain management of Mongkhol Thamnimit Mango Export Group in Samko District of Ang Thong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา ณัฐิวรรณ ยวงเกตุ, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มะม่วง--การปลูก มะม่วง--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การจัดการโซ่อุปทานมะม่วงของกลุ่มส่งออกมะม่วงมงคลธรรมนิมิต (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานมะม่วงของกลุ่มส่งออกมะม่วงมงคลธรรมนิมิต และ (4) แนวทางการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานมะม่วงของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วงมงคลธรรมนิมิต มีอายุเฉลี่ย 52.67 มีประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงเฉลี่ย 11.91 ปี มีพื้นที่ปลูกมะม่วงเฉลี่ย 10.54 ไร่ ผลผลิตมะม่วงเฉลี่ย 1,957.93 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 64,636.93 บาทต่อไร่ และรายจ่ายจากการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 17,985.70 บาทต่อไร่ (2) ในการจัดการโซ่อุปทานมะม่วง เกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วงส่วนมาก มีการจัดการโซ่อุปทานมะม่วงในต้นนํ้าและกลางนํ้า ในกิจกรรมเลือกปัจจัยการผลิต จัดการกระบวนการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงการตรวจรับรองคุณภาพ ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัด เนื่องจากอยู่ในข้อกำหนดของการผลิตมะม่วงส่งออก ส่วนการจัดการโซ่อุปทานปลายนํ้าเกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วงส่วนมากไม่ได้ดำเนินการในบางประเด็น โดยมีบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ (3) เกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วง ทั้งหมดมีปัญหาในเรื่องคุณภาพผลผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานการส่งออก รองลงมามีปัญหาในเรื่องขาดแคลนปุ๋ยและสารกำจัดวัชพืช ขาดเงินทุน และกระบวนการผลิตมะม่วงส่งออกมีความยุ่งยาก จึงเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้ ข้อแนะนำ ในเรื่องของการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการส่งออก การลดต้นทุนการผลิต รวมไปถึงส่งเสริมให้เกษตรซื้อปัจจัยการผลิตแบบรวมกันซื้อ นอกจากนี้ (4) เกษตรกรกลุ่มส่งออกมะม่วงได้รับการส่งเสริมการปลูกมะม่วงจากหน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน และจากผู้นำกลุ่ม ใช้วิธีการส่งเสริมที่เป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม โดยเรียนรู้ในประเด็นกระบวนการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการส่งออก การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและขั้นตอนการส่งออก และยังมีความต้องการการส่งเสริมในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องการการส่งเสริมในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต และการซื้อปัจจัยการผลิตแบบรวมกันซื้อ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1696 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159651.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License