กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1703
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 11 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Influence of personal factors and job empowerment on job performance according to nursing standard of professional nurses at Community Hospitals in Region 11 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญศรี พรหมมาพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อาจารย์ที่ปรึกษา ดารุณี จันฤาไชย, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ พยาบาลวิชาชีพ -- ภาระงาน สมรรถภาพในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ระดับการ เสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของ พยาบาลวิชาชีพ และ (2 ) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานต่อ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 11 ประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ใน เขต 11 จำนวน 869 คน สุ่มตัวอย่าง แบบหลายชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใชัในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และความสามารถในการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล ชึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์คัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำด้บ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขต 11 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วน ใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ68 ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ร้อยละ 97.4 และมีประสบการณ์การ ปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ 6 ปีขึ้นไปร้อยละ 64.2 ระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และระดับ ความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และ (2) ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานด้านการได้รับอำนาจ มีอิทธิพลต่อความสามารถในการ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ สามารถทำนายได้ร้อยละ 18.5 สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีอิทธพลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐาน การปฏิบัติการพยาบาล โดยการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานแก่พยาบาลวิชาชีพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1703 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib105531.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License