กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1712
ชื่อเรื่อง: ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำสวนยางพารา : กรณีศึกษาตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The local wisdom about rubber plantation : a case study of Tayu Sub-District in Takua Thung District, Phang-nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประชิด วามานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุติกาญจน์ คิดชอบ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย--พังงา
สวนยาง--ไทย--พังงา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) ประวัติควานเป็นมาและพัฒนาการ การทำสวนยางพารา (2) ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำสวนยางพาราของเกษครกร (3) การส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านในการ ทำสวนยางพาราเกษตรกรให้แพร่หลาย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รู้ ผู้นำในชุมชนท่าอยู่ 2 คน เกษดรกร ชาวสวนยางพาราบ้านท่าอยู่ 8 คน เกษตรกรที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น 2 คน เกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง 1 คน เจ้าหน้าที่เกษตร 2 คน รวบท้้งสิ้น 15 คน โดยใช้วิธีการทำเน้นการวิจัยจากการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก และการสังเกต แล้วอธิบายผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ต้นยางพารา มีแหล่งกำเนิดคือ ทวีปอเมริกาใต้ บริเวณลุ่มน้ำอะเมซอน แถบ ประเทศบราซิลมีการนำเข้ามายางพาราในประเทศไทย โดยพระยาริษฎามุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอชิมบี้ ณ ระนอง) เมึ่อประมาณ พ.ศ.2442 - 2444 ซึ่งยางพาราต้นแรกได้นำมาปลูกที่อำเภอกันตังจังหวัดตรัง ต่อมาได้ ส่งเสริมให้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พัฒนาการการทำสวนยาง แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือยุคที่ 1 (พ.ศ.2442 - 2456) ส่วนใหญ่เป็นการทำสวนยางพาราของชาวต่างชาติ สำหรับชาวไทย เป็นการ ปลูกเพื่อเสริมรายได้โดยปลูกยางปะปนกับพืชอื่นๆ ในสวนข้างบ้าน ซึ่งเป็นการปลูกยางพาราแบบ "ป่ายาง" ต่อมา ยุคที่ 2 (พ.ศ.2457 - 2502) เป็นการทำสวนยางพาราของคนไทยโดยมีภาครัฐเข้ามาส่งเสริมอย่างจริงจังจนกระทั้ง ยางพารากลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญส่งเสริมการผลิตเผื่อส่งออก และยุคที่ 3 (พ ค- 2503 - ปัจจุบัน) เป็นการทำ สวนยางพาราตามหลักวิชาการโดยรัฐบาลกำหนดนโยบายยางพาราไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - จนถึงปัจจุบัน โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราแบ่งชาติขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2552 (2) ภูมิปัญญาชาวบ้านการ ทำสวนยางพารา ใด้แก่ ด้านคติพื้นบ้านตามความเชึ่อเกี่ยวกับวัสดุและอุปกรณ์ในการทำสวนยางพารา เช่น ห้าม เดินข้ามสิ่งของมีคม ด้านการปลูกโดยต้องวางแนวปลูกยางตามแนวทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และในพื้นที่ ลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ต้องวางแนวปลูกตามขั้นบันได ด้านการดูแลรักษาสวนยางพารา เช่น การใส่ปุ๋ยควรขุด หลุมระหว่างร่องยางทำมุม 45 องศา ด้านการกรีดยางพารา ควรกรีคยางครั้งที่ 2 ไม่ซ้ำทีเดิม ด้านการแปรรูป ยางพารา เช่น แผ่นยางต้องสะอาด บาง ไม่มีฟองอากาศก่อนนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์และด้านการปลูกพืชเสริม รายได้ในสวนยางพาราโดยการปถูกพืชแซม เช่น ปลูกผักเหมียงแทรกร่องยาง (3) การส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการทำสวนยางพาราให้แพร่หลาย ควรส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่น การทำลูกบอลมหัศจรรย์ จากน้ำยางสด การทำตุ๊กตายาง ของที่ระลึก และการประดิษฐ์ดอกไม้จากใบยางพารา และควรส่งเสริมให้มีการ รวมกลุ่มเพื่อแกัปัญหาพ่อค้าคนกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1712
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons