Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1714
Title: บทบาทการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3
Other Titles: Extension roles for young farmer group in school of district level agricultural extension officer in Office of Agricultural Extension and Development, Region 3
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล สิงห์เถื่อน, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยุวเกษตรกร
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ประเด็นต่อไปนี้ (1) ความรู้และแหล่งความรู้ (2) บทบาทของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (3) ความคิดเห็นและความต้องการของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จำนวน 275 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 5% ได้กลุ่มตัวอย่าง 163 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.83 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 11.06 ปี ได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 22,414.93 บาท มีตำบลที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1.83 ตำบล และกลุ่มยุวเกษตรกรที่รับผิดชอบเฉลี่ย 248 กลุ่ม (1) ความรู้และการได้รับความรู้ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีความคิดเห็นต่อบทบาทการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก และมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (3) ความคิดเห็นในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความรู้และทักษะการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรในโรงเรียน ส่วนความต้องการในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความต้องการงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน คือ จำนวนตำบลที่รับผิดชอบมีความสัมพันธ์ในทิศตรงกันข้าม แต่แหล่งความรู้ในการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับบทบาทการส่งเสริมกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน และ (5) ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมีงานภารกิจเร่งด่วนที่เข้าแทรกแซงงานประจำ ส่วนข้อเสนอแนะที่เห็นด้วยมากที่สุด คือ การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรที่ทันสมัยให้กับยุวเกษตรกรในโรงเรียน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัมนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1714
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162187.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons