Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1723
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเอง ต่อระดับคอเลสเตอรอลของพยาบาลที่มีคอเลสเตอรอลสูง โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
Other Titles: Effects of an empowerment program for self management in serum cholesterol reduction of nurses with Hypercholesterolemia at Mae Sot General Hospital in Tak Province
Authors: พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัศนีย์ จันโทสถ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
โคเลสเตอรอล -- การควบคุม
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และ พฤติกรรมการจัดการตนเองของพยาบาลที่มีคอเลสเตอรอลสูงในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ของกลุ่มทดลอง ในระยะก่อนทดลอง ห้องทดลองและระยะติดตาม 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ เจตคติ และ พฤติกรรมการจัดการตนเองของพยาบาลที่มีคอเลสเตอรอลสูงในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนทดลอง หลังทดลองและระยะติดตาม 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับ คอเลสเตอรอลของกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมในระยะก่อนทดลองและระยะติดตาม กลุ่มประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานโนโรงพยาบาลแม่สอด จำนวน 78 คน ที่ได้รับการ ตรวจสุขภาพประจำปี 2550 ซึ่งมีผลการตรวจคอเอสเตอรอลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สุ่มเข้า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยสมัครใจ จำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการ สร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเองต่อระดับคอเอสเตอรอล โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสรัาง พลังอำนาจ ติดต่อกัน 2 วัน ติดตามผลเพื่อกระตุ้นเตือนทุก 4 สัปดาห์ จำนวน 3 ครั้ง เครึ่องมือที่ใชัในการเก็บ รวบรวมข้อมูลประกอด้วย แบบประเมินความรู้ แบบประเมินเจตคติ แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ใช้ค่าความเที่ยงของแบบประเมิน 0.83,0.82,0.82,0.82 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชั โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและใช้สถิติ t- test dependent groups และ t - test independent groups, ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบรีโภค อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ของกลุ่มทดลอง ในระยะก่อนทดลอง และระยะติดตามพบว่ามี ค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p< .001) ส่วนพฤติกรรมการจัดการด้านการบริโภค อาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ของกลุ่มทดลอง ในระยะก่อนทดลองและหลังทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน (p > .05) 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ก่อนการทดลอง และระยะติดตาม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p< .001) 3) ค่าเฉลี่ยของคอเลสเตอรออ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนทดลองและระยะติดตามมี ความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p < .01)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1723
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib107614.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons