Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1727
Title: แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรในภาคตะวันออก
Other Titles: Guidelines for development of agricultural extension officers responsible for home economics extension in East Region
Authors: บาเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนทรี สังกะเพศ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออก)
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรในประเด็นดังนี้ (1) ความรู้และแหล่งความรู้ด้านเคหกิจเกษตร (2) ความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้และบทบาทหน้าที่ที่ได้ดำเนินการจริง (3) ความคิดเห็นต่อเงื่อนไขการปฏิบัติงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทด้านเคหกิจเกษตร และ (4) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรในภาคตะวันออก จำนวน 86 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรทาโร ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 5% ได้ 58 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ส่วนเจ้าหน้าที่ระดับเขต ศูนย์ปฏิบัติการ และจังหวัด ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด 13 คน รวม 71 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 34.45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรเฉลี่ย 2.89 ปี ได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 20,162.39 บาทและตำบลที่รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรเฉลี่ย 4.81 ตำบล (1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีระดับความรู้ด้านเคหกิจเกษตรอยู่ในระดับมาก และการได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้อยู่ในระดับมาก และบทบาทหน้าที่ที่ได้ดำเนินการจริงอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะประเด็นการประสานงานผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ทางการเกษตร (3) ความคิดเห็นต่อเงื่อนไขการปฏิบัติงานด้านเคหกิจเกษตรของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าเงินเดือนที่ได้รับระดับปัญหาในการดำเนินงานด้านเคหกิจเกษตร และการได้รับความรู้จากแหล่งความรู้เกี่ยวกับงานด้านเคหกิจเกษตร มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทิศทางเดียวกับบทบาทหน้าที่ที่ได้ดำเนินการจริงของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร (4) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีความคิดเห็นต่อปัญหาในการดำเนินงานด้านเคหกิจเกษตรอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาเรื่องการขาดเจ้าหน้าที่ที่จบทางด้านคหกรรมศาสตร์โดยตรงแนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ คือ ควรส่งเสริม พัฒนาความรู้และทักษะด้านเคหกิจเกษตรแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง บรรจุหลักสูตรการดำเนินงานส่งเสริมเคหกิจเกษตรให้ข้าราชการบรรจุใหม่ จัดทำสื่อการดำเนินงานที่เข้าใจง่าย และกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานด้านเคหกิจเกษตรทุกระดับให้ชัดเจน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1727
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162190.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons