Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1731
Title: | การผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกรอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Off seasonal quality longan production by farmers in Doi Tao District Chiang Mai Province |
Authors: | พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา จันทร์เพ็ญ จำวงค์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ลำไย--การผลิต--ไทย--เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้และการปฏิบัติในการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นต่อการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดู (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 64.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 43.32 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.98 คน มีแรงงานด้านการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.31 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรร้อยละ 84.6 ไม่มีสภาพการเป็นผู้นำชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพทางการเกษตร และเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกลำไย มีพื้นที่ปลูกลำไยนอกฤดูเป็นของตนเองเฉลี่ย 4.93 ไร่ ศึกษาดูงานเมื่อมีปัญหาในการผลิต ซึ่งได้รับคำแนะนำและความรู้จากการศึกษาดูงานและเกษตรกรผู้นำตามลำดับ รายได้และรายจ่ายในการผลิตลำไยนอกฤดูเฉลี่ยต่อปี 142,483.22 และ 103,273.65 บาทต่อปี ตามลำดับ (2) ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกลำไยคุณภาพนอกฤดูอยู่ในเกณฑ์มาก ในประเด็นการเตรียมต้นและการผลิต การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การปฏิบัติของเกษตรกรที่สอดคล้องกับการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูมีการปฏิบัติเป็นประจำ จำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ การเตรียมความพร้อมโดยการตัดแต่งกิ่ง การคัดเกรดก่อนการบรรจุตะกร้า โดยใช้หลักเกรดขนาดผล (AA,A,AB) ในการ คัดเกรด การให้นํ้าหลังการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต การใช้ภาชนะที่บรรจุผลผลิตที่มีการป้องกันการกระแทก และการคัดแยกผลที่เสียหายออกจากช่อ มีการแต่งผลในช่อให้มีความสมํ่าเสมอก่อนบรรจุตะกร้า (3) ความคิดเห็นต่อการผลิตลำไยคุณภาพนอกฤดูพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคนิค ด้านกายภาพและด้านสังคม (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาด้านเศรษฐกิจและด้านเทคนิคในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะระดับมากที่สุด ในด้านกายภาพได้แก่ การจัดหาแหล่งนํ้าให้เพียงพอ การอบรมการวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน ด้านภัยธรรมชาติ ได้แก่ การอบรมการผลิตการใช้สารชีวภัณฑ์ ด้านการตลาดและคุณภาพผลผลิตลำไย ได้แก่ การควบคุมผลผลิตให้ออกสู่ตลาดในช่วงเวลาที่ตลาดมีความต้องการสูง ความต่อเนื่องและยั่งยืนของโครงการและงบประมาณที่ส่งเสริมการเกษตร การมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำได้อย่างต่อเนื่อง การทำการตลาดโดยตรงกับผู้บริโภคและควรรวมกลุ่มวางแผนการผลิตการขายลำไยนอกฤดู |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1731 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
151255.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License