กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1732
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการจัดการตอซังข้าวของเกษตรกรในตำบลทุ่งแต้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of rice stubble management by farmers in Tungtae Sub-district, Muaeng, Yasothon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลปริยา นาเมืองรักษ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าว--ต้นตอ--การจัดการ
ข้าว--ต้นตอ--การใช้ประโยชน์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) แหล่งความรู้ และความรู้ในการจัดการตอซังของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นในการจัดการตอซังของเกษตรกร 4) การยอมรับการจัดการตอซังของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการตอซังของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งเล็กน้อยเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.15 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 29.66 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.36 คน และมีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.01 คน พื้นที่ทำนา เฉลี่ย 15.27 ไร่ ในรอบปี 2558 เกษตรกรมีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 88,656.19 บาท มีต้นทุนในการจัดการตอซังเฉลี่ย 2,782.45 บาท 2) เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารระดับปานกลาง จากสื่อบุคคลได้แก่ ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สื่อมวลชนจากหอกระจายข่าว/เสียงตามสาย และส่วนใหญ่มีความรู้ ในเรื่องการนำตอซังฟางข้าวไปเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ตอซังฟางข้าวสามารถอัดเป็นก้อนเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์หรือเพื่อจำหน่าย ตอซังฟางข้าวใช้เพาะเห็ดฟาง 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นในการจัดการตอซังอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ในการไถกลบตอซังทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน และการปักดำกล้า นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความคิเห็นในระดับเห็นด้วยน้อย คือ ผู้รับจ้างไถนา ต้องการให้เผาตอซัง เพื่อให้ไถง่ายขึ้น 4) การจัดการตอซังข้าวของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะไม่เผาตอซังข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว หากมีการเลี้ยงสัตว์จำพวกโค กระบือ จะนำตอซังฟางข้าวมาเป็นอาหารสัตว์ บางส่วนของพื้นที่ทำนาจะทิ้งตอซังฟางข้าวไว้ในแปลงนา แล้วนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อย ใช้เป็นวัสดุคลุมดินสำหรับพืชที่ปลูกเพื่อรักษาความชื้นของหน้าดิน นำมาอัดเป็นก้อนเพื่อใช้ประโยชน์หรือจำหน่าย และมีการนำตอซังฟางข้าวเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดน้อยที่สุด 5) ปัญหาการจัดการตอซังข้าว ไม่มีเงินทุนในการจ้างเครื่องจักรกลในการจัดการตอซัง มีแปลงสาธิตในการจัดการตอซังน้อย และวิธีการและขั้นตอนในการจัดการตอซังค่อนข้างยุ่งยาก ข้อเสนอแนะของเกษตรกร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ควรอบรมความรู้ในการจัดการตอซังข้าวให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณการจัดการตอซังข้าวในด้านปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง จัดทำแปลงสาธิต และ จัดทำเอกสาร/คู่มือในการจัดการตอซังข้าว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1732
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151262.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons