Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1734
Title: การตัดสินใจผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี
Other Titles: Decision making on pesticide free vegetables production of farmers in Saraburi Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกสินทร์ แสงสวงค์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--ปทุมธานี--การตัดสินใจ.
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) การผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ (3) การตัดสินใจผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการตัดสินใจผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรเกือบสองในสามเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 50.15 ปี เกือบครึ่งจบการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกร และได้รับคำปรึกษาและข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีแรงงานในการเกษตรเฉลี่ย 2.19 คน ประมาณสองในสามขายพืชผักผ่านพ่อค้าคนกลาง มีประสบการณ์ผลิตพืชผักเฉลี่ย 3.24 ปี กว่าครึ่งมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษอยู่ในระดับมาก และหนึ่งในสามมีความรู้ในระดับมากที่สุด มีต้นทุนการผลิตพืชผักเฉลี่ย 7,247.17 บาทต่อไร่ต่อรอบการผลิต และมีรายได้จากการผลิตพืชผักเฉลี่ย 14,271.24 บาทต่อไร่ต่อรอบการผลิต (2) เกษตรกรปลูกพืชผักกินใบกว่าหนึ่งในสามปลูกกะเพรา และผักกินผลเกือบสองในสามปลูกพริกขี้หนู โดยมากกว่าครึ่งปลูกเพียงครั้งเดียวต่อปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 3.09 ไร่ มากกว่าสองในสามซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักจากร้านค้าและใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว เกือบสองในสามใช้สารสกัดจากพืชในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชผัก และ ส่วนใหญ่มีการจดบันทึกการปฏิบัติต่าง ๆ ในการปลูกพืชผัก (3) เกษตรกรตัดสินใจผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากตามกระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นความรู้ ได้แก่ การให้ความรู้ด้านการผลิต การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาด ขั้นจูงใจ ได้แก่ การหาความรู้เพิ่มเติมด้านผู้ผลิต ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ขั้นการตัดสินใจ ได้แก่ การมีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม การมีโอกาสศึกษาดูงาน การได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิต และเทคโนโลยีการผลิตมีขั้นตอนการปฏิบัติไม่ยุ่งยาก ขั้นการนำไปปฏิบัติ ได้แก่ เกษตรกรมีความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตามเทคโนโลยีการผลิต การรับทราบปัญหาการผลิต และสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาในการผลิตได้ และขั้นยืนยันการตัดสินใจ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้ความรู้และข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างต่อเนื่อง และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง (4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตพืชผักในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ตามกระบวนการตัดสินใจนวัตกรรมทั้ง 5 ขั้นตอน (5) เกษตรกรมีข้อเสนอแนะการผลิตพืชผักในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ตามกระบวนการตัดสินใจนวัตกรรมทั้ง 5 ขั้นตอน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1734
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152369.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons