กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1736
ชื่อเรื่อง: | บทบาทอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในงานส่งเสริมการเกษตรจังหวัดสุโขทัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The roles of village agricultural volunteers on agricultural extension work in Sukhothai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา จารุณี นครกัณฑ์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การส่งเสริมการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนบุคคล สภาพสังคม และเศรษฐกิจ ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นกับระดับปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน 5) เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.18 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4.10 คน มีรายได้จากการทำอาชีพในภาคการเกษตร เฉลี่ย 123,657.93 บาท/ปี รายได้จากการทำอาชีพนอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 75,352.44 บาท/ปี รายได้รวมเฉลี่ย 338,227.23 บาท/ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรรวม เฉลี่ย 14.242 ไร่ เกินครึ่งหนึ่งเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรหมู่บ้าน เป็นสมาชิกกลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านการเกษตรจากการประชุม/ อบรม/สัมมนา ได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับ มาก ได้รับสนับสนุนจากหน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (3) ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก อันดับแรกคือ ติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้านและรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (4) ระดับความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานในประเด็น การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการของเกษตรกร การร่วมกับคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร การเป็นผู้ประสานงานการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการเกษตร การเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยจากโรคแมลง และการสำรวจพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติระหว่างเกิดภัย แตกต่างจากผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (5) ปัญหาที่พบมากที่สุดคือด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ข้อเสนอแนะ เสนอให้มีค่าตอบแทน/สวัสดิการในการปฏิบัติงานให้แก่ อกม.ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพ ในด้านการจัดเก็บรวบรมข้อมูล การขึ้นทะเบียนเกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1736 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
152379.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License