กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1737
ชื่อเรื่อง: | การใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Technology utilization of off-season rambutan production of farmers in Chantaburi Provinc |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา จิรวดี แดงพวง, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เงาะ--การปลูก ผลไม้นอกฤดู การเก็บเกี่ยวนอกฤดู เทคโนโลยีการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐาน สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตเงาะในจังหวัดจันทบุรี (2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตเงาะนอกฤดูของเกษตรกร (3) การใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูของเกษตรกร (4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูของเกษตรกร (5) ปัญหา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.17 ปี เกษตรกรมีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 485,276.86 บาทต่อปี มีรายได้จากการผลิตเงาะนอกฤดูเฉลี่ย 41,851.43 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 20.33 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ในการผลิตเงาะเฉลี่ย 6.48 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,638.78 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีประสบการณ์ผลิตเงาะนอกฤดูเฉลี่ย 6.62 ปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตเงาะนอกฤดูอยู่ในระดับมากในประเด็นการกำหนดช่วงให้ผลผลิต เทคนิคการผลิตเงาะนอกฤดู และขั้นตอน การปฏิบัติในการผลิตเงาะนอกฤดู ประเด็นย่อยที่มีความรู้น้อย ได้แก่การให้ปุ๋ยทางดินเพื่อเร่งให้ใบแตกใบใหม่ การให้นํ้าช่วงออกดอกถึงดอกบาน การพ่นฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์เพื่อป้องกันผลร่วง การส่งเสริมให้แตกใบอ่อน ระยะที่ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดไรและแมลงศัตรูพืช การใช้สารเพื่อเร่งใบอ่อนให้แก่เร็ว การให้ปุ๋ยทางดินช่วงผลแก่ และการใช้สารป้องกันเชื้อราและการบรรจุหีบห่อ 3) เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูเป็นประจำในประเด็นการทำเงาะให้ออกดอกก่อนฤดูกาลปกติเป็นประจำการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว การให้ปุ๋ยทางดินเพื่อให้เงาะแตกใบอ่อนชุดที่ 1 การให้นํ้าช่วงผลแก่ การตัดแต่งช่อเงาะและการคัดผล และการบรรจุเงาะ 4) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตเงาะนอกฤดูในระดับมาก ได้แก่ การทำเงาะนอกฤดูทำได้ยาก ต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญมาก เงาะที่ผลิตออกนอกฤดูมีตลาดรองรับ ราคาผลผลิตเงาะนอกฤดูขายได้ราคาดี และให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น 5) เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งมีปัญหาในระดับมากได้แก่ ฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง และความเพียงพอของแหล่งนํ้า ข้อเสนอแนะในระดับมากที่สุดได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเงาะ นอกฤดู ควรจัดให้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตเงาะนอกฤดู ควรส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันอย่างเข็มแข็ง และส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเงาะนอกฤดูให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1737 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
153285.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License