กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1738
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agricultural extension needs of sugarcane farmers in Si Satchanalai District of Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กานต์สิรี ทองเปรม, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อ้อย--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงาน (2) สภาพการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมในการปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.63 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 11.03 ปี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.32 คน โดยมีแรงงานในการปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 2.17 คน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส.และโรงงานนํ้าตาล มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 46.44 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเองเฉลี่ย 27.56 ไร่ พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 42.15 ไร่ ต้นทุนในการปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 13,559.77 บาท/ไร่ รายได้จากการปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 15,604.73 บาท/ไร่ แหล่งเงินทุนส่วนมากได้มาจากการกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. (2) การปลูกอ้อยโรงงาน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ บำรุงดินก่อนปลูก ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 8 - 10 เดือนและเป็นท่อนพันธุ์ที่ไว้ตอได้ไม่ตํ่ากว่า 2 ตอ มีการยกร่องปลูกระยะระหว่างร่อง 1.0 - 1.5 เมตร มีการใส่ปุ๋ย การสำรวจโรคและแมลงศัตรูพืชสมํ่าเสมอ เก็บเกี่ยวอ้อยเมื่ออายุ 10 - 14 เดือนหลังปลูกและส่งอ้อยเข้าโรงงานภายใน 1 - 2 วันหลังการเก็บเกี่ยว (3) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกอ้อยโรงงานในระดับมากในประเด็นที่มีปัญหามาก คือ ขาดแคลนท่อนพันธุ์อ้อยพันธุ์ดี (4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการส่งเสริมการเกษตรด้านความรู้เกี่ยวกับการปลูกอ้อยโรงงานระดับปานกลางในเรื่องท่อนพันธุ์ การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูอ้อย เทคนิคการเพิ่มคุณภาพนํ้าตาล และการดูแลรักษาอ้อยตอ ด้านช่องทางในการส่งเสริมการเกษตร พบว่าเกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมในภาพรวมระดับปานกลางผ่านทางบุคคลราชการและแผ่นพับ ด้านการให้บริการและการสนับสนุน เกษตรกรมีความต้องการในระดับมากที่สุดในเรื่องการสนับสนุนท่อนพันธุ์คุณภาพดี การจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตราคาถูก การจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า การวางแผนด้านการผลิต การวางแผนการตลาด การจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต และการประกันราคาผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1738
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153287.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons