Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1739
Title: การปฏิบัติงานและการส่งเสริมบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านจังหวัดสุรินทร์
Other Titles: The operations and role supporting of the village agricultural volunteer in Surin Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญใจ เส็งเอี่ยม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--การทำงาน
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--สุรินทร์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและแหล่งความรู้ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) และของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) 2) การปฏิบัติ งานตามบทบาทของ อกม. และการส่งเสริมบทบาทของ อกม. ของเจ้าหน้าที่ฯ 3) การพัฒนาศักยภาพและการส่งเสริมบทบาทของ อกม. และของเจ้าหน้าที่ฯ 4) ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางส่งเสริมบทบาทของ อกม. และของเจ้าหน้าที่ฯ. ผลการวิจัย พบว่า 1) อกม. และเจ้าหน้าที่ฯ ในภาพรวมมีความรู้อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้านของบทบาทหน้าที่หลักของ อกม. โดยด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยมากกว่า ด้านอื่น ๆ และแหล่งความรู้ สื่อบุคคลมีค่าเฉลี่ยมากกว่าสื่อกิจกรรม สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์และ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) อกม. และเจ้าหน้าที่ฯ มีการปฏิบัติงานตามบทบาท ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้านของบทบาทหน้าที่หลักของ อกม. โดยด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น ๆ 3) อกม. มีความต้องการพัฒนาศักยภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยทั้งหมด 15 ประเด็นอยู่ในระดับมาก เช่น ควรมีการสนับสนุนวัสดุ ปัจจัยในการผลิตทางการเกษตร ควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ฯ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี 7 ประเด็น ที่อยู่ในระดับมากที่สุด เช่น การยกย่องเชิดชูเกียรติ สนับสนุนการพัฒนาทักษะและฝึกอบรม การเข้าร่วมกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ 4) ปัญหาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่หลักของ อกม. และเจ้าหน้าที่ฯ มีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น ๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ฯ ปัญหาด้านการปฏิบัติงานตามนโนบาย และด้านการถ่ายทอดความรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ในส่วนของ อกม. คือ 1) ควรสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน 2) เข้าร่วมการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้านทุก 3) ควรเป็นผู้นำ มีการใช้สื่อที่หลากหลาย ของเจ้าหน้าที่ฯ มีความคิดเห็นว่า 1) ควรสนับสนุนสื่อความรู้ ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับ อกม. 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย บทบาทหน้าที่ของ อกม. ให้กับ อกม. 3) ควรสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ อกม. สร้างขวัญกำลังใจ และยกย่องเชิดชูเกียรติ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1739
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155195.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons