กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1745
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนเขต 1 กระทรวงสาธารณสุข |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing participatory administration of nursing organization at community hospitals in region 1 under the Ministry of Public Health |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา ทักษิณา สิทธิธรรม, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การพยาบาล -- การบริหาร โรงพยาบาล -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล ของพยาบาล วิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขต 1 กระทรวงสาธารณสุข (2) ศึกษาการติดต่อสื่อสาร บรรยากาศองค์การ การ สนับสนุนการผึกอบรมขององค์การพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 1 กระทรวง สาธารณสุข (3) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์การพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 1 กระทรวงสาธารณสุข (4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของ องค์การพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนเขต 1 กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาทชุมชน เขต 1 จำนวน 333 คน โดยการ สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใซ้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ส่วน คือปัจจัยส่วนบุคคล การ ติดต่อสื่อสาร บรรยากาศองค์การ การสนับสนุนการฝึกอบรมขององค์การพยาบาลและการบริหารแบบมีส่วน ร่วม ชี่งมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า ผ่านการตรวจสอบความตรงเซิงเนื้อหาและมีค่าสัมประสิทธิความ เที่ยงในส่วนที่ 2 ถึงส่วนที่ 5 เท่ากับ 0.85 0.90 0.90 และ 0.93 ตามลำดับสถิติทิ่ใช้ไนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) อายุของพยาบาลวิชาชีทชึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 31-35 ปี มี ประสบการณ์ทำงานระหว่าง 11-15 ปี (2) พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้ว่าการติดต่อสื่อสารขององค์การพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับสูง การสนับสนุนการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง (3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์การพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง (4 ) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ บริหารแบบมีส่วนร่วมขององค์การพยาบาลคือ การสนับสนุนการฝึกอบรม การติดต่อสื่อสาร ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ บรรยากาศองค์การ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1745 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib108786.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License