กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1748
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การจัดการการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of cassava production management by farmers in Thepsathit District of Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรัตน์ ดิษฐเชาวลิต, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) กระบวนการผลิตมันสาปะหลัง (3) วิเคราะห์การจัดการการผลิตมันสาปะหลัง (4) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตมันสาปะหลัง และ (5) ปัญหาในการผลิตมันสาปะหลังของเกษตรกรในอาเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.85 ปี จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกมันสาปะหลังเฉลี่ย 15.87 ปี พื้นที่ปลูกมันสาปะหลังเฉลี่ย 25.09 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเอง 2) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันในด้านการเลือกใช้พันธุ์ การให้น้า การใส่ปุ๋ย ซึ่งเกษตรกรที่มีระดับการจัดการผลิตสูงส่วนใหญ่ปลูกมันสาปะหลังพันธุ์ระยอง 72 ใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจาทุกปี เฉลี่ย 1,189.97 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 40.50 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่าส่วนใหญ่ปลูกมันสาปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ใส่ปุ๋ยคอกเฉลี่ย 359 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 33.52 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตสูงได้ผลผลิตเฉลี่ย 4.90 ตันต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 8,126.67 บาทต่อไร่ หรือเท่ากับ 1.66 บาทต่อกิโลกรัม กาไรเฉลี่ย 3,509.79 บาทต่อไร่หรือเท่ากับ 0.72 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่าได้ผลผลิตเฉลี่ย 3.41 ตันต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,068.65 บาทต่อไร่หรือเท่ากับ 1.78 บาทต่อกิโลกรัม กาไรเฉลี่ย 1,960.76 บาทต่อไร่หรือเท่ากับ 0.58 บาทต่อกิโลกรัม โดยเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตสูงมีต้นทุนและผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่าอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) 5) ปัญหาสาคัญในการผลิต มันสาปะหลังของเกษตรกร คือ ปุ๋ยราคาสูง ราคาผลผลิตต่า และการหักสิ่งเจือปน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1748
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137831.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons