กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1761
ชื่อเรื่อง: | การจัดการความรู้ลายกระติบของบ้านคำเตย ตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Knowledge management of woven bamboo container weaving in Ban Kham Toei, Kham Toei Sub-District, Mueang District, Nakhon Phanom Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา มนทิพ วรรณทรัพย์ศิริ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ การบริหารองค์ความรู้--ไทย--นครพนม หัตถกรรม--ไทย--นครพนม |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของผู้สานลายกระติบและภูมิปัญญาด้านการสานลายกระติบบ้านคาเตย 2) องค์ความรู้และลายกระติบบ้านคาเตย 3) กระบวนการจัดการความรู้ในการผลิตลายกระติบบ้านคาเตย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้สานกระติบลายบ้านคาเตยเป็นผู้หญิงทั้งหมด 20 ราย ร้อยละ 40.0 มีอายุอยู่ระหว่าง 34-45 ปี ร้อยละ 65.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.0 มีจานวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน และแรงงานใน ครัวเรือนส่วนใหญ่ 2 คน อาชีพหลักของสมาชิกทั้งหมด คือ ทานา ร้อยละ65.0 อาชีพรองคือ สานกระติบข้าว ร้อยละ 50.0 รายได้ทั้งในและนอกภาคอยู่ระหว่าง100,000-200,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ร้อยละ 40.0 ประสบการณ์ในการสานกระติบข้าว อยู่ระหว่าง 20 -30 ปี ร้อยละ 75.0 แหล่งที่มาของไม้ไผ่ที่ใช้สานกระติบส่วนใหญ่ซื้อจากภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสานลายกระติบบ้านคาเตย จานวน 3 ปี ลายกระติบดั้งเดิมของการสานกระติบ คือลายขัด และมีการพัฒนาการสานลายกระติบจนถึงปัจจุบัน ลายจากการสานกระติบบ้านคาเตยแต่ละลายไม่มีความหมาย ส่วนใหญ่เป็นการเลียนแบบจากธรรมชาติ เครื่องใช้ และดัดแปลงจากลายเดิม นอกจากนั้นยังมีการดัดแปลงจากผู้สานลายกระติบเอง เช่น ลายตัวอักษร 2) ด้านการเก็บรวบรวมลายกระติบ พบว่า ลายกระติบบ้านคาเตย มีทั้งหมดจานวน 15 ลาย แต่ไม่มีการเก็บรวบรวมลายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร 3) ด้านกระ-บวนการจัดการความรู้ของผู้สานลายกระติบบ้านคาเตย ยังมีการจัดการที่ไม่เป็นระบบ พบว่าเป็นองค์ความรู้ฝังลึกในตัวบุคคล ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องของการจักสานด้วยไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจาวันมานาน ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เกิดขึ้นเฉพาะภายในชุมชน ข้อเสนอแนะในด้านกระบวนการจัดการความรู้ลายกระติบบ้านคาเตย ประกอบด้วย (1) การกาหนดชื่อผลิตภัณฑ์ โดยผ่านการตัดสินใจของกลุ่มผู้สานลายกระติบบ้านคาเตย (2) การแสวงหาความรู้จากทั้งภายในและภายนอกกลุ่มเพื่อก่อให้เกิดความรู้เฉพาะในกลุ่มผู้สานลายกระติบบ้านคาเตย (3) การแลกเปลี่ยนความรู้กัน ภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกมีความรู้และเกิดทักษะความรู้ในตัวบุคคล (4) การจัดเก็บความรู้ควรมีการบันทึกกระบวนการผลิตและวัสดุที่ใช้ในการสานลายกระติบด้วยการจดบันทึก และภาพถ่าย ทาให้สมาชิก ผู้สนใจที่ต้องการเรียนรู้ มีความสะดวก (5) การถ่ายทอดความรู้ ควรมีรูปแบบอย่างเป็นทางการ โดยกระบวนการดังกล่าวมีลักษณะเป็นวงจรที่ถ่ายทอดความรู้แล้ว สามารถย้อนกลับมากาหนดความรู้ในรูปแบบอื่นได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1761 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139960.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License