กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1765
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการช่วยชีวิตขั้นสูงโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยใช้แนวคิดของการจัดการความรู้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of an advanced life support model for Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital based on Knowledge management |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา พิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญนำ พัฒนแก้ว, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การกู้ชีพ การช่วยชีวิต โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนื้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการช่วยชีวิตขั้นสูงโดย ใช้การจัดการความรู้ของโนนากะและทาคิวชิ และ (2) ประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้มีประสบการณ์ร่วมในทีมช่วยชี้วัดขั้นสูงในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 14 คน ประกอบด้วย พยาบาลผู้ปฏิบัติ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ (1) ประเด็นสนทนา (2) แบบประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการช่วยชีวิตขั้นสูงที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าระหว่าง 0.70-1.00 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคสุนทรียสนทนา วิเคราะหข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการช่วยชีวิตขั้นสูง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านทีมช่วยชีวิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย คือ (1) บุคลากรในทีมช่วยชีวิต (2) การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบในทีม (3) การประสานงานภายในทีม (4) การซ้อมในสถานการณ์เหมือนจริง (5) การสืบทอด ประสบการณ์เพึ่อพัฒนาศักยภาพของทีม (6) การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในทีม 2) แนวปฏิบัติการ ช่วยชีวิตขั้นสูง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ (1) บนได 5 ขันสู่ความสำเร็จ (2) วงจร 6 นาทีเพื่อชีวิต (3) สูตรอัตราการกดหน้าอก 3) การจัดเตรียมความพรัอมด้านสถานที่และเวชภัณฑ์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย คือ (1) การจัดเตรึยมอุปกรณ์และเวขภัณฑ์ (2) การจัดสถานทึ่เฉพาะสำหรับการช่วยชีวิต 4) ปัจจัยเอื้อกระบวนการปฏิบัติช่วยชีวิต ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ (1) การจัดตั้ง ทีมอย่างเป็น ทางการ (2) การทบทวนกระบวนการและผลลัพธ์การช่วยชีวิต (3) การหาข้อสรูปเรื่องหลุมพราง (ข้อผิดพลาด) และนำเสนอแนวทางปรับปรุง รูปแบบการช่วยชีวิตขั้นสูงที่พัฒนาขั้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ใน การช่วยชีวิตขั้นสูงตามบริบทของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่ระด้บความเชี่อมั่น 0.93 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1765 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib108791.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License