Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1776
Title: การจัดการการผลิตและจำหน่ายชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Rose apple, Phet Sairoong variety, production and selling management of farmers in Mueang District, Phetchaburi Province
Authors: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรี มณีวรรณ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ชมพู่--ไทย--เพชรบุรี
ชมพู่--การปลูก
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ พันธุ์เพชรสายรุ้ง (2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งของเกษตรกร (3) การจัดการการผลิต และจา หน่ายชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งของเกษตรกร (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการการผลิตและ จา หน่ายชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.18 ปี จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษา จา นวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.69 คน ประสบการณ์ในการปลูกชมพู่เฉลี่ย 21.5 ปี ส่วนใหญ่เป็น สมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและได้รับข่าวสารจากเกษตรกรใกล้เคียง พื้นที่ทา การเกษตร เฉลี่ย 5.18 ไร่ พื้นที่ในการปลูกชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งเฉลี่ย 1.56 ไร่ อายุต้นชมพู่เฉลี่ย 22.81 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 701.21 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ทาการเกษตรเป็นอาชีพหลักและค้าขายเป็นอาชีพรอง จานวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ ในการผลิตชมพู่เฉลี่ย 1.45 คน ใช้ทุนของตนเองในการทา การเกษตร (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการ จัดการการผลิตชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่มีน้า ท่วมขัง แหล่งน้า สะอาด มีน้า ใช้เพียงพอตลอดฤดู มีการตรวจวัดความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ขยายพันธุ์ชมพู่โดยใช้กิ่งพันธุ์ ที่ตอนเอง ระยะปลูก 88 เมตร ถึง 1010 เมตร ในระยะเตรียมต้น ออกดอก สร้างผล และหลังเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย อินทรีย์ 10 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยที่มีส่วนผสมของสารไคโตซาน 2-3 กิโลกรัมต่อต้น มีการให้น้า ชมพู่อย่างถูกวิธี มีการตัดแต่งกิ่งและเก็บผลที่เป็นโรคเพื่อนา ไปทา ลาย และเกษตรกรทั้งหมดใช้วิธีป้ องกันกา จัดแมลงโดยการห่อผล โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตชมพู่หลังทา การห่อ 22-30 วัน และมีการบันทึกข้อมูลต้นทุน ค่าใช้จ่าย ราคาขายผลผลิต เพื่อ ควบคุมค่าใช้จ่ายการผลิต เกษตรกรจา หน่ายผลผลิตชมพู่ด้วยตนเองและขายผ่านพ่อค้าคนกลาง (4) เกษตรกรมี ปัญหาเรื่อง การขาดแคลนน้า และผลผลิตราคาตกต่ำ ในช่วงผลผลิตออกเป็นจำนวนมาก
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1776
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140571.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons