กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1781
ชื่อเรื่อง: ผลของใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียมในโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of caring program for the patients with hemiarthroplasty at Maharat Nakhon Si Thammarat Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เรืองเดช ไพบูลย์วรชาติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิชญ์ ฤทธิชาญชัย, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การดูแลหลังศัลยกรรม
การพยาบาลศัลยศาสตร์
ตะโพก -- ศัลยกรรม
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่าย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อตะโพกเทียม กับผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามกิจวัตร และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของ ผู้รับบริการที่ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกคอของกระดูก ต้นขาหักและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียม ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช จำนวน 28 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จำนวนเท่ากัน ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแล ตามกิจวัตรและกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียม เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียม ประกอบด้วย แผนการ ดูแลผู้ป่วยล่วงหน้า และ พยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลสุขภาพ แบบบันทึกค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยผ่าดัดเปลี่ยนข้อกระโพกเทียม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการ รักษาพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน มีค่าความ เที่ยง 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทีแบบอิสระ สถิติฟิชเชอร์ และสถิติแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมมีภาวะแทรกซ้อน และจำนวนวัน นอนโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามกิจวัตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) (2) ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และ (3) ผู้ป่วยกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อตะโพกเทียมมีความพึงพอใจในบริการอยู่ในระดับสูง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1781
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib108874.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons