กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1800
ชื่อเรื่อง: ระยะปลูกที่เหมาะสมในการผลิตขมิ้นชัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Optimum plant spacing for turmerc production
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ รัมมนต์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา 1) ระยะปลูกที่เหมาะสมของขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมือง 2) ผลผลิตของขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกด้วยระยะปลูกต่างกัน และ 3) ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกด้วยระยะปลูกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองระยะปลูกที่ 35 เซนติเมตรมีความสูงต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้น จานวนใบต่อต้น จานวนต้นต่อกอ น้าหนักเหง้าต่อกอ และน้าหนักเหง้าต่อแปลงย่อยมากกว่าขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองระยะปลูกที่ 10, 15, 20, 25 และ 30 เซนติเมตร ขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองที่มีระยะปลูก 10 เซนติเมตรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นเล็ก จานวนต้นต่อกอ และน้าหนักเหง้าต่อกอน้อยที่สุด 2) สาหรับปริมาณผลผลิต พบว่า ขมิ้นชันพันธุ์พื้นเมืองปลูกที่ระยะปลูก 10 เซนติเมตร ให้ผลผลิตมากที่สุด คือ 35.26 กิโลกรัมต่อแปลงย่อย หรือ 5,370.80 กิโลกรัมต่อไร่ และ 3) ต้นทุนการผลิตเท่ากับ 244.63 บาทต่อแปลงย่อย หรือ 37,262.04 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ยังได้ผลตอบแทนสูงสุด เท่ากับ 636.87 บาทต่อแปลงย่อย หรือ 97,007.96 บาทต่อไร่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1800
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140998.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons