Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1802
Title: การจัดการอาหารทีมีผลต่อองค์ประกอบของน้ำนมของสมาชิกสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัดอำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี
Other Titles: Feed management aftecting milk composition by Members of Thai-Milk dairy co-operatives Ltd. in Muak Lek District of Saraburi Province
Authors: ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เลอชาติ บุญเอก, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัญญา นารีแพงสี, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
โคนม--อาหาร
สมาชิกสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัดอำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์ 2) สภาพการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์ 3) การจัดการอาหารที่ใช้เลี้ยงโคนมและผลผลิตน้ำนมของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) ความคิดเห็นต่อการจัดการเลี้ยงโคนมของสมาชิกสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์มีอายุเฉลี่ย 44.8 ปีและสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.5 คน สมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 1 มีการศึกษาและประสบการณ์การเลี้ยงโคนมน้อยกว่าสมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 2 ทั้งนี้ สมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 1 มีรายได้เฉลี่ย 117,790 บาท/เดือนและรายจ่ายเฉลี่ย 63,682 บาท/เดือน ส่วนสมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 2 มีรายได้เฉลี่ย 126,730 บาท/เดือนและรายจ่ายเฉลี่ย 77,993 บาท/เดือน 2) สมาชิกสหกรณ์ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เลี้ยงโคนมลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน ที่มีระดับสายเลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนสูงกว่า 75% โดยกลุ่มที่ 1 เลี้ยงโคนมเฉลี่ยไม่เกิน 40 ตัวต่อฟาร์ม และโคให้น้านมเฉลี่ย 12.20 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ส่วนกลุ่มที่ 2 เลี้ยงโคนมเฉลี่ยมากกว่า 40 ตัวต่อฟาร์ม และโคให้น้านมเฉลี่ย 13.75 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน 3) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ตัดหญ้ามาให้โคนมกินวันละ 2 ครั้ง แต่สัดส่วนการให้อาหารหยาบ : อาหารข้นของกลุ่มที่ 1 มากกว่ากลุ่มที่ 2 คือ 64:36 เมื่อเทียบกับ 56:44 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หรือคิดเป็น 1.78 ต่อ 1.27 สาหรับปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำนมโคของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 12.99 และ 10.77 % ตามลาดับ ทั้งนี้ ปริมาณอาหารหยาบที่ให้ ปริมาณอาหารที่ให้ทั้งหมด และสัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้านมโค (P<0.01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.327 0.327 และ 1.00 ตามลาดับ แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มปริมาณอาหารหยาบ ปริมาณอาหารที่ให้ทั้งหมด และสัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้านม ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพน้ำนมนั่นเอง และ 4) ร้อยละ 30 ของสมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 2 มีความคิดเห็นว่าการจัดการเลี้ยงโคนมของตนอยู่ในระดับที่ดี ในขณะที่สมาชิกสหกรณ์กลุ่มที่ 1 เพียงร้อยละ 22.5 มีความคิดเห็นว่าการจัดการเลี้ยงโคนมของตนอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1802
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
141003.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons