กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1809
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความแข้มแข็งของศูนย์ข้าวชุมชน กรณีศึกษาบ้านนาชุม ตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting a Community Rice Center's strength: a case study of Ban Na Chum, Sra Saming Sub-District, Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัฐธนินท์ อัมมินทร, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์ข้าวชุมชน--ไทย--อุบลราชธานี--การบริหาร.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาชุม 2) ความรู้พื้นฐานกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน 3) สภาพการดาเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านนาชุม 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนให้เข้มแข็งผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 44-72 ปี อายุเฉลี่ย 55 ปี ส่วนใหญ่จบประถมศึกษาปีที่ 4-6 รายได้หลักมาจากการทานา รายได้เสริมมาจากการปลูกพืชอื่น เลี้ยงสัตว์และค้าขาย สมาชิกบางส่วนมีตาแหน่งในชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้าน นอกจากเป็นสมาชิกศูนย์ฯแล้ว ยังเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 26.90 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 7 คน สภาพพื้นที่นาเป็นที่ราบลุ่มดินทราย รายได้รวมเฉลี่ย 246,160 บาท รายจ่ายเฉลี่ย 135,500 บาท 2) ความรู้พื้นฐานกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ฯตั้งแต่ระยะก่อนปลูก ระยะปลูก ระยะเก็บเกี่ยว และระยะหลังเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับดีและดีมาก 3) การดาเนินงานของศูนย์ฯเริ่มต้นจากระดมเงินทุนจากสมาชิก และเงินสมทบจากการเก็บค่าปัจจัยการผลิตที่กรมส่งเสริมการเกษตรให้การสนับสนุน มีการเลือกคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารกองทุน ฝ่ายผลิตเมล็ดพันธุ์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายกระจายพันธุ์ ฝ่ายหาวัตถุดิบ ฝ่ายสวัสดิการ มีการกาหนดบทบาทหน้าที่ ระเบียบข้อบังคับชัดเจน มีแผนการดาเนินงาน ปฏิบัติตามแผนที่กาหนด มีการประชุมทุก 3 เดือน มีการประสานงานกับเครือข่าย มีการจัดการแปลงนาได้ดี เมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านการรับรองมาตรฐาน มีเงินกองทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ให้สมาชิกกู้ ดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อปี และมีเงินปันผลเฉลี่ยคืน 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ สมาชิก กรรมการของศูนย์ข้าวชุมชน ระบบการบริหารงาน การจัดการแปลงนา และการเรียนรู้ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ปัจจัยการผลิต/เครื่องจักร/เครื่องทุ่นแรง หน่วยงานสนับสนุน และระบบการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1809
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141031.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons