กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1813
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างอัตรากำลังกับอัตราการเกิดแผลกดทับ และความพึงพอใจในงานของพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between nurses staffing, incident rate of decubitus ulcer and nurses' job satisfaction |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชนี ศุจิจันทรรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา รมณ พงศ์ภัทรพร, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน พยาบาล -- อัตรากำลัง |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนานื้มีวัตถุประสงศ์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตรากำลัง ได้แก่ (1) ร้อยละของพยาบาลวิชาชีพต่อบุคลากรทางการพยาบาลทั้งหมด (2) ชั่วโมงการพยาบาลต่อผู้ป่วยต่อวัน (3) จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ กับอัตราการเกิดแผลกดทับและความพึงพอใจในงานของ พยาบาล ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตภาคกลาง ประชากรประกอบด้วยโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิในภาคกลาง สุ่มเลือกได้ จำนวน 3 แห่ง จาก 6 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม ศัลยกรรม และศัลยกรรมกระดูกของ โรงพยาบาลที่ศึกษา จำนวน 20 แห่ง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกภาระงานของพยาบาล แบบรวบรวมข้อมูลการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลซึ่ง ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน คำนวณดัชนีความตรงตาม เนื้อหารายข้อและทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจพบว่ามีคำดัชนีความตรงตาม เนื้อหารายข้อระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และสัมประสทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์,สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ร้อยละของพยาบาลวิชาชีพกับอัตราการเกิดแผลกดทับ และ ความพึงพอใจในงานของพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ชั่วโมงการพยาบาล ต่อผู้ป่วยต่อวันกับอัตราการเกิดแผลกดทับมีดวามสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =- 0.55, p<0.05) (3) ชั่วโมงการพยาบาลต่อผู้ป่วยต่อวันกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลไม่มี ความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์กับอัตราการเกิดแผล กดทับมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.64, p<0.01) (4) ชั่วโมง การทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=- 0.48, p<0.05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1813 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib108908.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License