กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1814
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนภาลัย โดยการใช้แนวคิดของการจัดการความรู้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a care management model for stoke patients at Napalai Hospital based on knowledge management
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิเชฐ บัญญัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลักขณา ผ่องพุทธ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
หลอดเลือดสมอง -- โรค -- การพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ (2) ประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองที่สร้างขึ้นไปใชั กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 กลุ่มพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยบุคลากรสาธารณสุข ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลนภาลัย จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทางสมอง จำนวน 6 คน กลุ่ม 2 กลุ่ม ประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สรัางขึ้นไปใชั ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใชัในการวิจัยมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใชัในการ พัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการใชักระบวนการการจัดการความรู้ตามแนวคิด โนนากะและทาคิวชิ ได้แก่ ประเด็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนารูปแบบ แบบนันทนาการสนทนา ส่วนที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมในการนำรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่สร้างขึ้น เครื่องมือทั้ง 2 ส่วนผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน มีค่า CVI อยู่ช่วง ระหว่าง 0.75-1.00 การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยการสนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนี้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ มีการปฏิบัติ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การรู้ถึงปัญหา (องค์ประกอบที่ 1) ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการให้ดูแล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) การดูแลรักษาด้วยทีมสหวิชาชีพ 2) การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน 3) การสร้างคุณค่าให้ผู้ป่วย 4) การเสริมสรัางความรู้ ทั้งผู้ดูแลและผู้ให้บริการ 5) การมีผู้ช่วย เหลือและที่ปรึกษา 6) การติดตามดูแลต่อเนื่อง และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการนำไปใชั กับบริบทของโรงพยาบาลนภาลัย มีค่าความเชี่อมั่นอยู่ในช่วง 0.81 -0.90 ข้อเสนอแนะ การนำรูปแบบการ จัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนภาลัย ที่พัฒนาขึ้นไปสู่การทดลองปฏิบัติ ควรมีการสื่อสาร ให้ผู้ปฏิบัติรับทราบก่อน และหากโรงพยาบาลอื่นนำไปใชัต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละ โรงพยาบาล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1814
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib108910.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons