กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1815
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบต้นทุนการให้บริการรักษาพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดกับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม : โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparison of service cost between vaginal delivery and caesarean section in pregnant women using activity-based cosing system at a private hospital in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพียงตา อิงคุทานนท์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาลสูติศาสตร์ -- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
การผ่าท้องทำคลอด -- การพยาบาล -- ค่าใช้จ่าย
การทำคลอด -- การพยาบาล -- ค่าใช้จ่าย
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเซิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาต้นทุนการให้บริการรักษาพยาบาลหญิง ตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายโดยใช่ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (2) ศึกษาต้นทุน การให้บริการรักษาพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายโดยใช่ระบบ ต้นทุนฐานกิจกรรม และ (3) ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการให้บริการรักษาทยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่อง คลอดกับผ่าตัดคลอดทางหน้าห้องตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร ประชากรคือกิจกรรมการให้บริการรักษาพยาบาลแก่หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดและผ่าตัด คลอดทางหน้าห้อง ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาลและพนักงานผู้ช่วยพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยแบบบนทึกช้อมูล จำนวน 7 ชุด และพจนามุกรมกิจกรรมการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอด ทางช่องคลอดและผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และนาฬิกาจับเวลา เครื่องมือที่สรัางขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงของการสังเกตตามแบบบันทึกกิจกรรมพยาบาล 0.87 วิเคราะห์ช้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า(1) ต้นทุนการให้บริการรักษาพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอด 27,912.88 บาท มีต้นทุนทางตรง 26,545.02 บาท และต้นทุนทางอ้อม 1,367.86 บาท ต้นทุนทางตรงมีอัตราส่วน ต้นทุนค่าแรง: ต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุนค่าลงทุน 28.73 ะ 1.99 : 1 (2) ต้นทุนการให้บริการรักษาพยาบาลหญิง ตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าห้อง 34,876.22 บาท มีต้นทุนทางตรง 30,873.85 บาท และต้นทุนทางอ้อม 3,993.37 บาท ต้นทุนทางตรงมีอัตราส่วนต้นทุนค่าแรง: ต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 22.73 : 1.82 : 1 และ (3) ต้นทุนการให้บริการรักษาพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าห้องสูงกว่าต้นทุนการให้บริการ รักษาพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดอยู่ 6,954.34 บาท 8 คิดเป็น 1.25 เท่า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1815
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib108911.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons