กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1817
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ในตำบลแก้งกอก อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Improving Increasing Cassava Production of Farmers in Ganggok Sub-District, Si Mueang Mai District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปฏิมา ทองสิงหา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--อุบลราชธานี
มันสำปะหลัง--ไทย--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสาปะหลังในตาบลแก้งกอก อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี 2) ผลของโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) แนวทางในการพัฒนาโครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.65 ปี สมรสทั้งหมด ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.5 คน เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีอาชีพหลักด้านการเกษตร อาชีพรองรับจ้างทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ย 20.35 ไร่ เกือบทั้งหมดเป็นที่ดินของตนเอง รายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 70,625 บาทต่อปี รายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 89,000 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ระยอง เครื่องจักรกลส่วนใหญ่มีรถไถเดินตามและเครื่องสับ 2) หลังเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่สามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตได้ทุกราย และได้รับกาไรจากการปลูกมันสาปะหลังเพิ่มขึ้น ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯโดยภาพรวมเกษตรกรมีความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมในระดับมาก ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการฯ มีอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการฯ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก 3) แนวทางในการพัฒนาโครงการฯ มี 3 แนวทางคือ (1) แนวทางการพัฒนาด้านผู้เข้าอบรมได้แก่ การคัดเลือกเกษตรกรผู้เข้าอบรม และการประชาสัมพันธ์ (2) แนวทางพัฒนาด้านวิทยากร ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านการถ่ายทอดและสื่อ (3) แนวทาง การพัฒนาด้านการดำเนินงานตามโครงการ ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ด้านการบริหารโครงการ และด้านสถานที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141037.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons