กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1821
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การจัดการการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of Khao Dawk Mali 105 rice production management by farmers under the safety and standard rice production promotion project in Bankhwao District of Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุพรัตน์ จงเพียร, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวขาวดอกมะลิ 105--การผลิต
ข้าวขาวดอกมะลิ 105--มาตรฐาน
ข้าว--การควบคุมการผลิต
ข้าว--การควบคุมคุณภาพ
ข้าว--ไทย--ชัยภูมิ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ศึกษาลักษณะการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร 3) วิเคราะห์การจัดการการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105ของเกษตรกร 4) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน อาเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.48 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 14.20 ปี ส่วนใหญ่มีแรงงานในครัวเรือนที่ผลิตข้าวระหว่าง 1-2 คน 2) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ทุกรายมีพื้นที่ผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นของตนเอง เฉลี่ย 7.60 ไร่ มีสภาพการผลิตที่คล้ายคลึงกันในด้านการปลูก อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ การให้น้า แต่แตกต่างกันที่การใช้สารเคมีกาจัดวัชพืชและปริมาณปุ๋ยเคมีที่ใช้ ซึ่งเกษตรกรที่มีระดับการจัดการผลิตสูงส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกาจัดวัชพืช 1 ครั้งและใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 45.45 กิโลกรัมต่อไร่ส่วนเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่าใช้สารเคมีกาจัดวัชพืช 2 ครั้งและใส่ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 40.90 กิโลกรัมต่อไร่ 3) เกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตสูงมีการปฏิบัติด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนา และการควบคุมการผลิตมากกว่าเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่า 4) เกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตสูงมีผลผลิตเฉลี่ย 535 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 7,324.83 บาทต่อไร่ กาไรเฉลี่ย 1,716.67 บาทต่อไร่หรือ 3.21 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเกษตรกรที่มีระดับการจัดการการผลิตต่ามีผลผลิตเฉลี่ย 518 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 7,783.42 บาทต่อไร่ กาไรเฉลี่ย 971.08 บาทต่อไร่หรือ 1.87 บาทต่อกิโลกรัมโดยเกษตรกรที่มีการจัดการการผลิตสูงมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่ากว่าและมีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าเกษตรกรที่มีระดับการจัดการผลิตต่าอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) 5) ปัญหาสาคัญในผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร คือ ปุ๋ยเคมีราคาแพง วัชพืชในนาข้าว อุทกภัย และปัญหาด้านการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1821
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142310.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons