กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1828
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วย วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับประสิทธิผลของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ ในเขต 15 และ 17
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between exemplary leadership of head nurses, constructive organizational culture, and effectiveness of patient unit as perceived by staff nurses, at Tertiary Care Government Hospitals in Region 15 and 17
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณี ตปนียากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล ตั้งเจริญธรรม, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การพยาบาล -- การบริหาร
วัฒนธรรมองค์การ
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
หัวหน้าพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะชี้นำแบบอย่างของหัวหน้า หอผู้ป่วย วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ และประสิทธิผลของหอผู้ป่วย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วย วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และ (3) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ 15 และ 17 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของหัวทน้าที่ผู้ป่วยกับ ปัจจุบัน 1 ปีขึ้นไปโนโรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ เขต 15 และ 17 จำนวน 309 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถามประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตอนที่ 3 แบบสอบถามภาวะผู้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ ตอนที่ 4 แบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา และ วิเคราะห์ หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์เแอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ0.93.0.95 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) ภาวะซี้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วย วัฒนธรรมองค์การแบบ สร้างสรรค์ และประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิในเขต 15 และ 17 อยู่ในระดับสูง (2) ภาวะชี้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ในระดับ ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 และ (3) วัฒนธรรมองค์การแบบ สร้างสรรค์และภาวะชี้นำแบบอย่างของหัวหน้าหอผู้ป่วย สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วยได้ รัอยละ 59.8
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1828
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib109932.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons