กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1835
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อนสถาบันราชประชาสมาสัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a nursing record system for leprosy patients at Raj Pracha Samasai Institute |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชนี นามจันทรา, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา พานทิพย์ ร่มโพธิ์ตาล, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ บันทึกการพยาบาล การสื่อสารทางการพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาท ของผู้ป่วยโรคเรื้อน สถาบันราชประชาสมาสัย และ (2) ศึกษาผลของการใช้ระบบบันทึกทางการพยาบาลในด้าน คุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาลต่อระบบบันทึกทางการพยาบาลก่อนและ หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเจาะจงได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในหอผู้ป่วยโรคเรื้อนอายุรกรรมและศัลยกรรม จำนวน 15 คน และ (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วย จำนวน 60 แพ้ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ระบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น (2) โครงการอบรม พยาบาลวิชาชีพและแบบทดสอบความรู้เรื่องการบันทึกทางการพยาบาล และ (3) เครื่องมือที่ใช้เกมรวบรวม ข้อมูลมี 2 ชุด ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจ ของพยาบาลต่อระบบบันทึกทางการพยาบาล เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงตามเนี้อหาและความเที่ยง ค่าความเที่ยงของแบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ความครอบคลุม ตามกระบวนการพยาบาล ความถูกต้องตามหลักการบันทึกและความต่อเนี่องของการบันทึกเท่ากับ 0.95,0.85 และ 0.94 ตามลำดับ และความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อระบบบันทึกทางการพยาบาล เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney ข test และ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยโรคเรื้อน สถาบันราชประชาสมาสัย ประกอบด้วย วิธีการบันทึกแบบบันทึกและคู่มือการใช้ระบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล ชึ่งทำให้บันทึกได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยแบบองค์รวมและอย่าง ต่อเนื่อง (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและความพึงพอใจของพยาบาลต่อระบบ บันทึกทางการพยาบาลโดยรวมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบบันทึกทางการพยาบาลอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1835 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib109957.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License