กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1842
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to roles performance of agricultural village volunteers in Nakhonnayok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผุสดี จันทร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัคร
เกษตรกร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ทางเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยอื่นๆ (2) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (3) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (5) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดนครนายก ผลการวิจัย พบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.09 ปี จบประถมศึกษา มีจานวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.81 คน มีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 338,227.23 บาท/ปี มีพื้นที่ทาการเกษตรรวมเฉลี่ย 41.29 ไร่ เกินครึ่งเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรหมู่บ้าน เกินครึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 9.39 ครั้ง/ปี ได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก แหล่งความรู้ด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง อันดับแรก คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน (3) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานอยู่ในระดับเห็นด้วย (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ การเป็นหมอดินอาสา จานวนแรงงานในครัวเรือน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ระดับการศึกษา การเป็นเกษตรหมู่บ้าน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การได้รับการฝึกอบรม แหล่งความรู้ด้านการเกษตร การได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงาน ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาน (5) ปัญหาในการปฏิบัติงานที่พบมากที่สุด คือ เกษตรกรบางรายไม่ให้ความสาคัญกับการขึ้นทะเบียนเกษตรกร และแบบฟอร์มละเอียดเกินไป ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานเสนอให้มีค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาศักยภาพ เสนอแนะให้ฝึกการเป็นวิทยากรเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1842
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142694.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons