Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1844
Title: | ความต้องการของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง |
Other Titles: | Farmers' needs in the operations of agricultural services and technology transfer centers in Norasing Sub-District, Pa Mok District, Ang Thong Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชนี อรรถลาภี, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล--การบริหาร |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 2) การรู้จักและความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตำบล 3) ความต้องการของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางเศรษฐกิจของเกษตรกรและการรู้จักและความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตาบล กับความต้องการของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อแนวทางการดาเนินงานของศูนย์ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.08 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.48 คน ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารด้านการเกษตรจากผู้นำชุมชน พื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 19.43 ไร่ รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 106,075.58 บาท/ปี (2) เกษตรกรเกือบครึ่งมีความรู้เกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตำบลในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรมีความต้องการต่อการดาเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนรสิงห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) ปัจจัยด้านอายุ อาชีพ จานวนครั้งที่ได้การอบรมความรู้ด้านการเกษตร การรับรู้ข่าวสารด้านการเกษตร จานวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตร รายได้ ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับศูนย์ฯ มีความสัมพันธ์กับความต้องการของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯ (5) ระดับปัญหาของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของศูนย์ฯในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ศูนย์ฯควรร่วมมือกับอาสาสมัครเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทันสมัย น่าสนใจและเหมาะสม ซึ่งเกษตรกรสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1844 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142700.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License