กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1846
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operations of community pest management centers in Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัฐยา กลั่นจุ้ย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน--ไทย--สุพรรณบุรี
ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี (2) ข้อมูลพื้นฐานของคณะกรรมการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทุกศูนย์มีองค์ประกอบครบถ้วน ได้แก่ สมาชิก คณะกรรมการ สถานที่ทำกิจกรรม และแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช ศูนย์ฯ มากกว่าครึ่งเล็กน้อยไม่มีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรและชุมชน โดยประมาณหนึ่งในสามมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชเมื่อ มีแนวโน้มเกิดการระบาดของศัตรูพืชและเมื่อศูนย์ฯ เป็นเป้าหมายในการดำเนินการโครงการ ศูนย์ฯ มากกว่าสองในสามแจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืชทางโทรศัพท์มือถือ ศูนย์ฯ ประมาณสามในสี่มีบริการวินิจฉัยศัตรูพืช และมากกว่าครึ่งเล็กน้อยไม่มีบริการข้อมูลเกี่ยวกับศัตรูพืช ศูนย์ฯ สองในสามมีการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติและชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ศูนย์ฯ เกือบสองในสามมีการประชาสัมพันธ์การดาเนินงานของศูนย์โดยการประชุม ศูนย์ฯ มากกว่าครึ่งเล็กน้อยมีการเชื่อมโยงเครือข่าย และเกือบสามในสี่มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.49 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นกรรมการหมู่บ้าน มีระยะเวลาดารงตาแหน่งในศูนย์เฉลี่ย 3.61 ปี โดยส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในการเข้าร่วมศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในภาพรวม พบว่า คณะกรรมการฯ โดยเฉลี่ยเห็นด้วยในระดับมากทุกประเด็น ได้แก่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฯ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์ฯ และการดำเนินงานของศูนย์ฯ ตามหน้าที่หลักของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ คณะกรรมการฯ เกือบครึ่งหนึ่ง ระบุว่า การถ่ายทอดความรู้ที่หน่วยงานภาครัฐเข้ามาอบรมไม่ตรงกับฤดูกาลผลิต และมีข้อเสนอแนะว่า การดำเนินงานโครงการของภาครัฐควรสอดคล้องกับฤดูกาลผลิตของเกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1846
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142703.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons