Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1847
Title: | การพัฒนาชุดสื่อสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Media development for technology transfer of coconut black-headed caterpillar controls in Prachuap Khiri Khan Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา สมัครสมร ภักดีเทวา, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฑามาศ กรีพานิช, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปและสภาพปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว 2) ศึกษาความต้องการของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีต่อชุดสื่อเพื่อการเผยแพร่เทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว 3) พัฒนาชุดสื่อที่เหมาะสมสาหรับการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และ 4) ศึกษาความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อชุดสื่อสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56 ปี พบการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ พ.ศ. 2552 การระบาดรุนแรงขึ้น ได้รับข่าวสารทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว คือการปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอน มีความต้องการคือ แผ่นพับ โปสเตอร์ คู่มือ คำแนะนา เรื่อง การใช้แตนเบียนหนอนบราคอน การใช้แตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมา การฉีดสารเคมีเข้าลาต้น การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้อง และการใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง (2) วิเคราะห์ความต้องการสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่จากแบบสัมภาษณ์ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 (3) ออกแบบและพัฒนาชุดสื่อ สร้างความน่าสนใจให้ชุดสื่อโดยทำให้เกิดเชื่อมโยงในชุดสื่อด้วยการใช้โปสเตอร์เป็นหลักในการถ่ายทอดเทคโนโลยี นำเสนอเนื้อหาหลักสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ในการประเมินการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวและการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ส่วนแผ่นพับและเอกสารคู่มือเป็นส่วนประกอบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สามารถแจกให้เกษตรกรเพื่อนาไปศึกษาเพิ่มเติมได้ โดยแผ่นพับนาเสนอเนื้อหาสาระเดียวกับโปสเตอร์ แต่ขยายความเนื้อหาสาระมากขึ้น และเอกสารคู่มือจะนาเสนอเนื้อหารายละเอียดมากกว่าแผ่นพับและได้มีการเพิ่มเนื้อหาสาระนอกเนื้อจากแผ่นพับ ในเรื่อง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้อง และการใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาสาระ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดาเนินการจัดพิมพ์สื่อ นาเสนอชุดสื่อโดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้นาเสนอชุดสื่อต่อเกษตรกร (4) เกษตรกรมีความพึงพอใจชุดสื่อทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาสาระในชุดสื่ออยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่มีข้อเสนอแนะ คือ ต้องการให้มีภาพประกอบในคู่มือมากขึ้น เพื่ออธิบายตามลาดับขั้นตอน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1847 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142706.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License