Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1849
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุริยา ศรีแสง, 2519--
dc.date.accessioned2022-10-26T03:15:48Z-
dc.date.available2022-10-26T03:15:48Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1849-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ ปลูกกาแฟอาราบิก้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ภูมิปัญญาในการจัดการการผลิตและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บ เกี่ยวกาแฟอาราบิก้าของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) ภูมิปัญญาในการจัดการดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้า หลังการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 45.30 ปี ไม่ได้รับการศึกษาเกินครึ่ง จำนวนสมาชิกใน ครัวเรือนเฉลี่ย 2.71 คน ส่วนใหญ่ไม่จ้างแรงงาน ไม่ดำรงตำแหน่งทางสังคม ไม่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารการปลูกกาแฟอาราบิก้า แต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกาแฟอาราบิก้าจาก หน่วยงานภาครัฐ และมีรายได้จากอาชีพหลัก คือ ธุรกิจโฮมสเตย์เฉลี่ย 18,257.73 บาทต่อปี ส่วนรายได้จากการ ปลูกกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 18,154.64 บาทต่อปี ประสบการณ์การปลูกกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 7.96 ปี และมีพื้นที่ปลูก กาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 6.32 ไร่ ให้ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 1,039.38 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ ทุนของตนเองในการปลูกกาแฟอาราบิก้า 2) สำหรับภูมิปัญญาการผลิตกาแฟอาราบิก้า พบว่า เกษตรกรปลูกกาแฟ อาราบิก้า โดยใช้ต้นกล้าร้อยละ 89.69 ใช้เมล็ดพันธุ์ร้อยละ 10.31 โดยเพาะเมล็ดลงบนพื้นดิน หรือใช้กระบะใส่ ทรายที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรเก็บผลผลิตด้วยมือ โดยสังเกตจากผลสุกที่สีแดง แล้วใส่ภาชนะที่ มีในท้องถิ่น เช่น ตะกร้า กระด้ง ถังน้ำ กระสอบปุ๋ย เป็นต้น การแปรรูปผลผลิตกาแฟอาราบิก้า ใช้ครกและสากตำ เปลือกนอกออก นำไปหมักในน้ำตามธรรมชาติ ล้างขัดเมือกด้วยมือ ตากบนแคร่ไม้ไผ่ วางเมล็ดกาแฟบนเสื่อสาน นำเมล็ดไปกะเทาะเปลือกแข็งออก ได้สารกาแฟ นำไปคั่วบนกระทะด้วยเตาถ่านครั้งละ 4-5 กิโลกรัม ระยะเวลาที่คั่ว 4-5 ชั่วโมง ตำบดละเอียด จำนวน 300-400 ครั้ง ด้วยครกไม้และสากที่ทำขึ้นเอง นำไปบรรจุในถุงฟอยล์ 3) ส่วน การจัดการดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้าหลังการเก็บเกี่ยว มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงต้น ใส่ปุ๋ยจากมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ เป็นต้น โรคที่พบระบาดได้แก่ โรคผลเน่า โรคราสนิม ใบจุดตากบ ส่วนแมลงที่เข้าทำลาย ได้แก่ หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.130-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกาแฟ--การปลูก--ไทย--แม่ฮ่องสอนth_TH
dc.titleภูมิปัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนth_TH
dc.title.alternativeIndigenous wisdom of Arabica Coffee growers in Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.130-
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the primary socioeconomic data of Arabica coffee growers; 2) the indigenous wisdom the growers used in Arabica coffee production management and yield management after harvest; 3) the indigenous wisdom the growers used in Arabica coffee tree management after harvest. Taro Yamane Method was used to select a sample of 97 from the total population of 3,472 Arabica coffee growers in Mae Hong Son Province in the years 2010-2011. Data were collected using questionnaires. Growers’ practice was observed and photos were taken. Data were analyzed by computer software. The statistics used were frequency, mean, percentage, maximum, minimum and standard deviation. The results showed that 1) the average age of sample Arabica coffee growers was 45.30, and more than half of them were not educated. The mean number of household members was 2.71. No outside labour was hired. The majority of sample growers had no social position, were not members of any agricultural institution and had not received information on Arabica coffee production, but had received technology transfer on Arabica coffee production from a public sector agency. Homestay business was their major source of income with average 18,257.73 baht/year. Average income of 18,154.64 baht/year came from Arabica coffee production. The growers’ average years of farming experience was 7.96. The average cultivated area was 6.32 rai (1.01 hectares) and the average yield was 1,039.38 kg/1,600 m2/year. Most of them used their own money. 2) For Arabica coffee production, 89.69% grew coffee from seedlings while 10.31% planted seeds in the field or in a bamboo tray filled with sand. They hand picked coffee berries which were red when ripe. Local containers, such as baskets, threshing baskets, buckets and fertilizer sacks were used. Coffee berries were processed by using pestle and mortar to remove the outer skin. Coffee berries were then soaked in water, the pectin layer was washed off by hand and the berries were dried on a mat laid on a bamboo litter. After that, the parchment coffee was removed and 4-5 kilograms of coffee beans at a time were roasted on a charcoal stove for 4-5 hours. A wooden mortar and pestle was used to grind roasted coffee beans for 300-400 times and then they were packed in aluminum foil packages. 3) After harvest, Arabica coffee trees were pruned and fertilized using animal manure such as cow, buffalo or sheep dung. Arabica coffee plant diseases were fruit rot disease, rust disease and frog-eye spot disease. Insect pests were stem borer, scale insect and mealy bug.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142732.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons