Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1849
Title: ภูมิปัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Indigenous wisdom of Arabica Coffee growers in Mae Hong Son Province
Authors: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุริยา ศรีแสง, 2519-
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กาแฟ--การปลูก--ไทย--แม่ฮ่องสอน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ ปลูกกาแฟอาราบิก้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ภูมิปัญญาในการจัดการการผลิตและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บ เกี่ยวกาแฟอาราบิก้าของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) ภูมิปัญญาในการจัดการดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้า หลังการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 45.30 ปี ไม่ได้รับการศึกษาเกินครึ่ง จำนวนสมาชิกใน ครัวเรือนเฉลี่ย 2.71 คน ส่วนใหญ่ไม่จ้างแรงงาน ไม่ดำรงตำแหน่งทางสังคม ไม่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารการปลูกกาแฟอาราบิก้า แต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกาแฟอาราบิก้าจาก หน่วยงานภาครัฐ และมีรายได้จากอาชีพหลัก คือ ธุรกิจโฮมสเตย์เฉลี่ย 18,257.73 บาทต่อปี ส่วนรายได้จากการ ปลูกกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 18,154.64 บาทต่อปี ประสบการณ์การปลูกกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 7.96 ปี และมีพื้นที่ปลูก กาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 6.32 ไร่ ให้ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าเฉลี่ย 1,039.38 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ ทุนของตนเองในการปลูกกาแฟอาราบิก้า 2) สำหรับภูมิปัญญาการผลิตกาแฟอาราบิก้า พบว่า เกษตรกรปลูกกาแฟ อาราบิก้า โดยใช้ต้นกล้าร้อยละ 89.69 ใช้เมล็ดพันธุ์ร้อยละ 10.31 โดยเพาะเมล็ดลงบนพื้นดิน หรือใช้กระบะใส่ ทรายที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนการเก็บเกี่ยว เกษตรกรเก็บผลผลิตด้วยมือ โดยสังเกตจากผลสุกที่สีแดง แล้วใส่ภาชนะที่ มีในท้องถิ่น เช่น ตะกร้า กระด้ง ถังน้ำ กระสอบปุ๋ย เป็นต้น การแปรรูปผลผลิตกาแฟอาราบิก้า ใช้ครกและสากตำ เปลือกนอกออก นำไปหมักในน้ำตามธรรมชาติ ล้างขัดเมือกด้วยมือ ตากบนแคร่ไม้ไผ่ วางเมล็ดกาแฟบนเสื่อสาน นำเมล็ดไปกะเทาะเปลือกแข็งออก ได้สารกาแฟ นำไปคั่วบนกระทะด้วยเตาถ่านครั้งละ 4-5 กิโลกรัม ระยะเวลาที่คั่ว 4-5 ชั่วโมง ตำบดละเอียด จำนวน 300-400 ครั้ง ด้วยครกไม้และสากที่ทำขึ้นเอง นำไปบรรจุในถุงฟอยล์ 3) ส่วน การจัดการดูแลรักษาต้นกาแฟอาราบิก้าหลังการเก็บเกี่ยว มีการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงต้น ใส่ปุ๋ยจากมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ แกะ เป็นต้น โรคที่พบระบาดได้แก่ โรคผลเน่า โรคราสนิม ใบจุดตากบ ส่วนแมลงที่เข้าทำลาย ได้แก่ หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1849
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142732.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons