กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1866
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines of active learning management in the 21st century in Schools under Phayao Provincial office of the non-formal and informal education |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์ เหมือนฝัน ยองเพชร, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การเรียนแบบมีส่วนร่วม--ไทย--พะเยา การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา และ 3) เสนอแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างทีศึกษา คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพะเยา โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .87 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ถึงโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพที่เป็นจริงของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ด้านการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ด้านการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และด้านบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้ สถานศึกษาควรใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการวางแผน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ผู้บริหารควรมีการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินการจัดการเรียนรู้ นำผลจากการนิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบ ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครูเพื่อนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองและปรับปรุงแก้ไขการบริหารการจัดการเรียนการรู้ในภาคเรียนต่อไป |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1866 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License