กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1868
ชื่อเรื่อง: | การกำหนดอายุความในคดีอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Determination of prescription in criminal cases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุจินตนา ชุมวิสูตร ชลวิภา วิริยะกุล, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี อายุความ การจำกัดอายุความฟ้องคดี (กฎหมายอาญา) กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดอายุความในคดีอาญาทั้งของไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกําหนดอายุความในคดีอาญา (3) เสนอแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักกฎหมาย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมัน และ (4) นําแนวทางนั้นไปแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายให้ชัดเจนในการกำหนดอายุความในคดีอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยจากเอกสาร ข้อมูลที่ทําการศึกษามีทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ ตัวบทกฎหมาย ตํารา บทความ ระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า (1) การกำหนดอายุความในคดีอาญาของไทยได้บัญญัติมาเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนต่างประเทศการกำหนดอายุความได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมในปัจจุบัน (2) คดีอาญาหลายคดีขาดอายุความและไม่สามารถนําผู้กระทําความผิดมารับโทษได้ ซึ่งกระทบต่อรัฐและสังคม ส่งผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ในการบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น เพื่อความยุติธรรม จึงควรกำหนดอายุความให้มีความชัดเจน โดยให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาวิกลจริตภายหลังการกระทําความผิด และความผิดอาญาบางประเภทที่มีความร้ายแรงกำหนดให้ไม่มีอายุความ (3) ในปัจจุบันหลายประเทศมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความค่อนข้างละเอียดและทันสมัย ทําให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ทําให้เริ่มมีคดีขาดอายุความมากขึ้น จึงทําให้อายุความที่เคยกำหนดไว้มีความหนักแน่นน้อยลง (4) จึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอายุความ โดยควรบัญญัติให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไว้กรณีที่ผู้ต้องหาหรือจําเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวนหรือในชั้นศาลและให้ความผิดอาญาบางประเภทที่มีความร้ายแรงกำหนดให้ไม่มีอายุความ ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1868 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166515.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License