Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1894
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภช รติโอฬารth_TH
dc.contributor.authorประพันธ์ มังสระคู-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-28T06:54:53Z-
dc.date.available2022-10-28T06:54:53Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1894-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุ และข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาข้อมูลภาวะสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชน และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษา 2 ระยะ ระยะแรกศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี อำเภอสุวรรณภูมิ จำนวน 12,438 คน กลุ่มตัวอย่าง 410 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ ข้อมูลทุติยภูมิ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัย ระยะที่ 2 ศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากผู้สูงอายุ สมาชิกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบุคลากรสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้เป็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2561 อำเภอสุวรรณภูมิ มีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากร ร้อยละ 20.54 เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัตราป่วยตายด้วยโรคเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น 2) ภาวะสุขภาพ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองมีภาวะสุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.49) ภาวะสุขภาพจิต อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 43.17) ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชนโดยรวมระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.78) สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้ (ร้อยละ 97.56) ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 40.48) และ 3) รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (1) ด้านหน่วยบริการสุขภาพสำรวจขึ้นทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุร่วมกับครอบครัวและภาคีเครือข่าย เสนอข้อมูลแก่ชุมชนและภาคีเครือข่าย พัฒนาระบบบริการเชิงรับและเชิงรุกให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ประสานการทำงานร่วมกับครอบครัวและภาคีเครือข่ายทุกระดับ (2) ด้านครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมจัดสำรวจขึ้นทะเบียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุ สนับสนุนบทบาทของผู้สูงอายุ (3) ด้านภาคีเครือข่าย ร่วมพัฒนาระบบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บูรณาการงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในรูปของชมรม/กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันกับหน่วยงานอื่นๆ และ (4) เป้าหมายการดำเนินงานเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชน และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2017.97-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--ร้อยเอ็ดth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of elderly health-care model for the elderly through participation of families and partners in Suwannaphum District, Roi Et Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2017.97-
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this mixed method research were: 1) to survey situation and basic elderly information; 2) to identify study health information, family and community participation, and elderly life assurance; and 3) to design an elderly health- care model based on family and network participation for the elderly in Roi Et’s Suwannaphum district. The study was divided into two phases. The first one involved quantitative data collection from a sample of 410 selected out of 12,438 self-assisted elderly persons in Suwannaphum district, using the purposive sampling as per the sample inclusion criteria. Data were collected from secondary sources and interviews using a questionnaire, and then analyzed to determine percentages, means, standard deviations, and ranges. The second one for qualitative data collection from 50 respondents who were elderly representatives, their family members, village health volunteers, community leaders, elderly volunteer caregivers, and health personnel in the district. The instrument used was focus group discussion and a content analysis was undertaken on such data. The findings showed that: (1) according to the district’s 2018 situation of the elderly, 20.5% of the population are elderly persons – a complete-aged society with a rising trend of elder persons becoming home-bound, bed-bound, at risk of suffering from diabetes and hypertension, and dying of non-communicable diseases; (2) of all respondents, most of them, 50.5%, perceived their physical status as moderate, 43.1% had mental status as good, 48.8% had overall participation in family and community activities as moderate, 97.6% had access to medical services, and 40.5% had no or inadequate equipment or facilities for elderly persons; (3) regarding the elderly health- care model in the district: (a) health service units conducted a survey on elderly persons registration as well as their family members and partners, informed the community and partners of such information, developed an active and passive health-care system to cover all elders groups, and coordinated the model implementation with all families and partners at all levels; (b) family members took part in the activities related to the survey and registration, knowledge sharing, elder-care skill development, and supporting the roles of elder persons; (c) the partners participated in developing the information system, data analysis, integrating the work with all relevant parties, supporting the implementation through elders clubs or groups in the community, and specifying joint actions together with other agencies; and (d) the model’s target was to cover all elderly persons or groups with regard to health care, family and community activities, and livelihood securityen_US
dc.contributor.coadvisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158767.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons