Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1894
Title: | การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | Development of elderly health-care model for the elderly through participation of families and partners in Suwannaphum District, Roi Et Province |
Authors: | สมโภช รติโอฬาร ประพันธ์ มังสระคู มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อารยา ประเสริฐชัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--การดูแล ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--ร้อยเอ็ด |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุ และข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาข้อมูลภาวะสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชน และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษา 2 ระยะ ระยะแรกศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี อำเภอสุวรรณภูมิ จำนวน 12,438 คน กลุ่มตัวอย่าง 410 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ ข้อมูลทุติยภูมิ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัย ระยะที่ 2 ศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 50 คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากผู้สูงอายุ สมาชิกครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบุคลากรสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้เป็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2561 อำเภอสุวรรณภูมิ มีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากร ร้อยละ 20.54 เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัตราป่วยตายด้วยโรคเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น 2) ภาวะสุขภาพ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองมีภาวะสุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.49) ภาวะสุขภาพจิต อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 43.17) ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชนโดยรวมระดับปานกลาง (ร้อยละ 48.78) สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้ (ร้อยละ 97.56) ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 40.48) และ 3) รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (1) ด้านหน่วยบริการสุขภาพสำรวจขึ้นทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุร่วมกับครอบครัวและภาคีเครือข่าย เสนอข้อมูลแก่ชุมชนและภาคีเครือข่าย พัฒนาระบบบริการเชิงรับและเชิงรุกให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ประสานการทำงานร่วมกับครอบครัวและภาคีเครือข่ายทุกระดับ (2) ด้านครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมจัดสำรวจขึ้นทะเบียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุ สนับสนุนบทบาทของผู้สูงอายุ (3) ด้านภาคีเครือข่าย ร่วมพัฒนาระบบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บูรณาการงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในรูปของชมรม/กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันกับหน่วยงานอื่นๆ และ (4) เป้าหมายการดำเนินงานเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวและชุมชน และการมีหลักประกันในการดำเนินชีวิต |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1894 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158767.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License