กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1901
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรในตำบลโคกสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the farmer registration and data updating in Kok Sawang Sub-district, Mueang District, Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล พุกพิกุล, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--สระบุรี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่น ๆ ของเกษตรกรตำบลโคกสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี (2) ความรู้ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกร (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกร (5) ปัญหา ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.37 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือองค์กรต่าง ๆ โดยกว่าสองในสามเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. และกว่าสามในสี่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.67 คน ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ไม่มีการประกอบอาชีพอื่นนอกจากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ถือครองพื้นที่ทาการเกษตรเป็นของตนเอง มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 28.42 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 239,811.48 บาทต่อปี และมีรายจ่ายเฉลี่ย 126,140.98 บาทต่อปี เกษตรกรมีระดับการได้รับข้อมูลในการดาเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากแหล่งต่าง ๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยได้รับข้อมูลจากสื่อบุคคลมากที่สุด (2) เกษตรกรมากกว่าสองในสามมีความรู้ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรเห็นด้วยในการดำเนินการการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรในระดับมาก (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรได้แก่ สถานภาพทางสังคมและจำนวนการเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กรของเกษตรกร (5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีข้อเสนอแนะ คือ ควรขยายขนาดตัวอักษรในแบบคำร้องและช่องกรอกข้อมูล จะได้ง่ายต่อการอ่านและกรอกข้อมูล และควรเพิ่มความถี่และปริมาณของสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1901
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142738.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons