กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1902
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักชีฝรั่งของเกษตรกร ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Culantro (Evyneium foetidum Linn.) production and extension needs of farmers in That phanom District of Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
กวิตา ศรีวรมย์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--นครพนม
ผักชีฝรั่ง--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครพนม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการตลาดผักชีฝรั่งของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักชีฝรั่งของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักชีฝรั่งของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตผักชีฝรั่งของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.32 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ประสบการณ์ในการปลูกผักชีฝรั่งเฉลี่ย 4.86 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตการเกษตรดีที่เหมาะสม การประกอบอาชีพของครัวเรือนคือทำนา มีพื้นที่ทาการเกษตรและปลูกผักชีฝรั่งเป็นของตนเองเฉลี่ย 9.99 และ 1.07 ไร่ ตามลาดับ จำนวนสมาชิกและแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.77 และ 2.01 คน ตามลาดับ มีการจ้างแรงงานชั่วคราวในการผลิต แหล่งเงินทุนกู้จากกองทุนหมู่บ้านในรอบปีการผลิตผักชีฝรั่ง 2556 มีต้นทุนต่อไร่เฉลี่ย 40,363.64 บาท ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 4,112.63 กิโลกรัม ราคาจาหน่ายต่อถุง 5 กิโลกรัม เฉลี่ย 133.99 บาท ทาให้มีรายได้ต่อไร่เฉลี่ย 105,594.95 บาท (2) สภาพการผลิตและการตลาดผักชีฝรั่ง ปลูกในพื้นที่นา สภาพดินร่วนเหนียว เว้นการปลูกซ้าที่เดิม เริ่มในเดือนมกราคม ไถตากดินเฉลี่ย 13.74 วัน ทำแปลงแบบยกร่อง ขนาดกว้าง 1.20 เมตร และตามความยาวของพื้นที่ หลังคาโรงเรือนไม้ไผ่คลุมด้วยตาข่ายพรางแสงชนิดร้อยละ 60 ใช้วิธีการหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราเฉลี่ยไร่ละ 9.86 กิโลกรัม ปล่อยน้ำชลประทานตามร่องแปลงสัปดาห์ละครั้ง กำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง นิยมใส่ปุ๋ยเคมีมากกว่าใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยวผลผลิตต่อรอบการผลิตเฉลี่ย 10.04 เดือน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายนถึงกุมภาพันธ์ของปีถัดไป โดยสังเกตความอ่อนแก่ของใบและขนาดของต้น ใช้วิธีตัดทีละต้นโดยไว้ตอ จาหน่ายแก่พ่อค้าคนกลางท้องถิ่นที่แปลง (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักชีฝรั่งเฉลี่ยระดับปานกลาง (4) ความต้องการส่งเสริมในภาพรวมระดับมาก โดยต้องการในการผลิตระดับมากที่สุดเกี่ยวกับการตลาดและการขนส่ง และเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิต รูปแบบการถ่ายทอดระดับมากแบบกลุ่ม วิธีการถ่ายทอดต้องการระดับมากโดยการใช้เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกษตรกรต้นแบบและเกษตรกรรุ่นใหม่ และระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ต้องการระดับมากที่สุดในการให้บริการทางการเกษตรแบบเฉพาะเจาะจงและมีเป้าหมายชัดเจน (5) เกษตรกรกรมีปัญหาในภาพรวมและการตลาดระดับมาก ส่วนในการผลิตระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะด้านการผลิตให้มีการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงพันธุ์ ระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม และการแปรรูปผลผลิต ด้านการตลาดให้มีมาตรการด้านราคา และพัฒนาแหล่งจุดรวบรวมผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1902
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142846.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons