กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1905
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the operations of health behavior modification villages for reducing the risk of cancer, hypertension, and cardiovascular disease by subdistrict Health Promoting Hospitals in Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
ปาณิสรา ศรีธนสาร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อารยา ประเสริฐชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมสุขภาพ--ไทย--ตรัง
เป้าหมาย (จิตวิทยา)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุข ความรู้ ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (2) ศึกษาการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน กับการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ (4) ค้นหาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2559 ประชากรที่ศึกษา คือบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จานวน 125 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ค่าความเที่ยงของ แบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เฉลี่ย 3.47 ปี จำนวนครั้งของการอบรม เฉลี่ย 1.57 ครั้ง ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร อยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (2) การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2559 ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดตรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตำแหน่งผู้รับผิดชอบงาน ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชน ควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมใหม่ๆ ให้น่าสนใจขึ้นและปรับเปลี่ยนเวลาการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157764.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons