กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1908
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationships between organizational culture, job empowerment, and quality of working life of professional nurses under the jurisdiction of the local government administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา รุ่งทิพย์ เลากิตติศักดิ์, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ วัฒนธรรมองค์การ การจูงใจในการทำงาน พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานที่พยาบาล วิชาชีพปฏิบัติ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษาการเสริมสร้างหลังอำนาจในงานตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานบริการด้านสุขภาพ สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 23 แห่ง จำนวน 272 คน เครื่องมือทื่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัฒนธรรมองค์กร การเสริมสร้างพลัง อำนาจและคุณภาพชีวิต ซึ่งมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามใน ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 และ ส่วนที่ 4 เท่ากับ 0.95 0.93 และ 0.96 ตามลำด้บ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเที่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) วัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงานที่พยาบาลวิชาชีพ ปฎิบัติในสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์มากกว่าวัฒนธรรมองค์กร ลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์กรลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว (2) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานจากผู้บังคับบัญชาของพยาบาล วิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง (3) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง และ (4) วัฒนธรรมองค์กรลักษณะสร้างสรรค์กับคุณภาพ ชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r = .54) วัฒนธรรมองค์กรลักษณะตั้งรับ-เฉื่อยชา และวัฒนธรรมองค์กรลักษณะตั้งรับ-ก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตทางบวกในระดับต่ำ (r= .31, r= .31) ตามลำดับ ส่วนการเสริมสร้างหลังอำนาจในงานกับคุณภาพ ชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = .76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1908 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118784.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License