กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1911
ชื่อเรื่อง: | การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Role performance of village agricultural volunteers in Ubonratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล อุตส่าห์, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--การทำงาน อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคม เศรษฐกิจบางประการของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาการได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี (3) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ (4) ศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี (5) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธาน ผลการศึกษา พบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 34.53 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนมากสมรสแล้ว มากกว่าครึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการหมู่บ้าน และทั้งหมดเป็นเกษตรหมู่บ้าน รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่เกษตร ผู้นาหมู่บ้านในระดับมากที่สุด รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน คือวิทยุโทรทัศน์ในระดับปานกลาง ประกอบอาชีพทานาเป็นอาชีพหลัก มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 114,669.54 บาทต่อปี มาจากการทานามากที่สุด มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 26.51 ไร่ (2) ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการให้ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ในด้านการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยการผลิตในระดับมาก สำหรับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีแรงจูงใจที่ไม่เป็นตัวเงินมากกว่าแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมากที่สุด คือ การได้รับความรู้ด้านการเกษตร รองลงมาคือ มีความภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือทางราชการ และมีโอกาสในการพัฒนาชุมชนของตนเอง (3) มีความรู้ ความเข้าใจในการในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ แต่มีบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจที่มาของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน วาระการดำรงตำแหน่ง สิทธิประโยชน์และบทบาทหน้าที่ด้านการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน (4) มีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ทั้งด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน ด้านการร่วมกับกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทาแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน ด้านการประสานงานในการถ่ายทอดความรู้ และการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน และด้านการติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้านและรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) มีปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในระดับปานกลาง และเสนอแนะให้มีการกระตุ้นและสนับสนุนความรู้ด้านการเกษตร และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ โดยออกไปให้คำแนะนำปรึกษาอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1911 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
142863.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License